DSpace Repository

การศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานอพยพในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
dc.contributor.advisor Jaturong Boonyarattanasoontorn
dc.contributor.author ฉวีวรรณ เรืองอุทัย
dc.contributor.author Chaveevan Ruangutai
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-06-06T14:01:23Z
dc.date.available 2024-06-06T14:01:23Z
dc.date.issued 1998
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2375
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 en
dc.description.abstract การศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานอพยพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังของแรงงานอพยพ ระดับคุณภาพชีวิต และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ในประเด็นที่สำคัญ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้แรงงานอพยพในจังหวัดสมุทรปราการ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอพระประแดง และอำเภอบางพลี จำนวน 478 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้แรงงานอพยพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุระหว่าง 21-25 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการมาแล้ว 1-5 ปี มีรายได้ต่ำกว่าเดือนละ 5,000 บาท คุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ และปานกลางค่อนข้างต่ำในทุกด้าน สำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ พบว่าแรงงานอพยพที่ไม่ทำงานล่วงเวลา จะมีรายได้ไม่เพียงพอเป็นส่วนใหญ่ การทำงานล่วงเวลาทำให้เกิดปัญหาค่อนข้างห่างเหินในครอบครัวสูง ผู้ที่มีเงินออมจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ และหน่วยงานในการพัฒนาความรู้ และทักษะในการทำงานมากกว่าผู้ที่มีรายได้พอดี ผู้ที่มีรายได้เหลือออม จะมีการทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นบางครั้ง และผู้ที่เป็นแรงงานในภาคเกษตรจะได้รับความช่วยเหลือจากนักการเมือง และข้าราชการในท้องถิ่นมากกว่าแรงงานในภาคอื่น หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขต้องให้ความสนใจในการจัดสวัสดิการด้านต่างๆ ให้กับแรงงานอพยพให้มากขึ้น เช่น การควบคุมดูแลผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัดในเรื่องค่าแรง และสวัสดิการต่างๆ การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นในการพัฒนาฝีมือและทักษะในการทำงาน การจัดการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ในสถานประกอบการ การควบคุมคุณภาพของอาหาร และน้ำดื่ม การจัดให้มีพื้นที่สวนสาธารณะในย่านโรงงานอุตสาหกรรม การจัดฝึกอบรมให้แรงงานอพยพเข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ และการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น สหภาพแรงงานเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองกับผู้ประกอบการ เป็นต้น หรือกลุ่มย่านต่างๆ เป็นต้น en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject แรงงานต่างด้าว -- ไทย -- สมุทรปราการ en
dc.subject Foreign workers -- Thailand -- Samut Prakan. en
dc.subject แรงงานย้ายถิ่น -- ไทย -- สมุทรปราการ. en
dc.subject Migrant labor -- Thailand -- Samut Prakan. en
dc.subject คุณภาพชีวิต en
dc.subject Quality of life en
dc.title การศึกษาคุณภาพชีวิตของแรงงานอพยพในจังหวัดสมุทรปราการ en
dc.title.alternative Quality of Life : A Study of Migrant Workers in Samutprakarn Province en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account