การวิจัยภาคตัดขวาง (Cross-Sectional study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สมาร์ทโฟนกับสุขภาพจิตในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติชั้นปีที่ 1-4 ทั้ง 13 คณะ จำนวน 404 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล อาการเสพติดสมาร์ทโฟน และแบบทดสอบสุขภาพจิต ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค (Cronbach’s alpha coefficient) 0.75 และ 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 64.85 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 20.51 +-1.37 ปี ร้อยละ 45.05 มีการเข้าใช้สมาร์ทโฟนเฉลี่ย 15-20 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 46.29 มีการใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน แอปพลิเคชันที่นิยมใช้มากที่สุด คือ อินสตาแกรม (Instragram) และการเสพติดสมาร์ทโฟนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิต (p=.001) เพื่อภาวะสุขภาพจิตที่ดี นักศึกษาจึงควรลดการเสพติดสมาร์ทโฟนลง เช่น การดูหนังหรือเล่นกีฬา เป็นต้น แม้แต่ละกิจกรรมจะใช้เวลาเพียงไม่นาน แต่ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีในการสดการเสพติดสมาร์ทโฟน
The cross-sectional research aims to study the relationship between smartphone usages and mental health in Huachiew Chalermprakiet University students. The student sample consisted of 404 who studying in the first to forth year from 13 faculties. Research tool used in this study was a questionnaire of personal information and smartphone addiction, and mental health test. The Cronbach’s alpha coefficient of the questionnaire and the mental health test was 0.75 and 0.84, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Chi-Square test. The results showed that 64.85 percent was female, the average age was 20.51 +- 1.37 years, 45.05 percent have the average number of times to smartphone usages in a day in the range of 15 to 20 times, 46.29 percent have the average time spent on a smartphone using over 5 hours per day, the most popular application was Instagram, and smartphone addiction was significantly associated with the mental health of students (p=.001). For good mental health, students should reduce smartphone addiction