DSpace Repository

การเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมตนเองของเด็กและเยาวชนที่ไม่กระทำผิดซ้ำ ๆ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
dc.contributor.advisor Thipaporn Phothithawil
dc.contributor.author ภัทรานิษฐ์ ก่อกุศล
dc.contributor.author Pattranit Kokuson
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2022-05-05T02:38:34Z
dc.date.available 2022-05-05T02:38:34Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/241
dc.description วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2558 th
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาเหตุผลในการตัดสินใจที่ไม่กระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน 2) เพื่อศึกษาควบคุมตนเองไม่ให้กระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชน และ 3) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมตนเองของเด็กและเยาวชนที่ไม่กระทำความผิดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดหนองคาย และผ่านการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนที่ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน เขต 4 จังหวัดขอนแก่น มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่กระทำผิดซ้ำจำนวน 5 ราย ผู้ปกครอง จำนวน 5 ราย และบุคคลที่เด็กรู้จักใกล้ชิดและให้ความไว้วางใจ จำนวน 5 ราย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบ การวิเคราะห์เรื่องราวเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด ผลการศึกษา พบว่า 1) เหตุผลในการตัดสินใจที่ทำให้เด็กและเยาวชนไม่กลับไปกระทำผิดซ้ำ พบว่า ประสบการณ์การเข้ารับการฝึกอบรใ ทำให้กลัวต่อการเข้ารับการฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน เนื่องจากรู้สึกอึดอัดที่ต้องถูกคุมขัง การอยู่ในระเบียบกฎเกณฎ์ การขาดอิสรภาพ และการต้องระวังตัวในการทำผิดระเบียบของศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน การมีเป้าหมายในอนาคต เนื่องจากต้องการอยู่กับครอบครัวเพราะครอบครัวหันกลับมาสนใจมากขึ้น ต้องการทำงานหาเงินใช้หนี้สินช่วยแม่ซึ่งเกิดจากการทำของตัวเอง การมีลูกทำให้มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ต้องการทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวให้ดีที่สุด และต้องการมีอนาคตที่ดีขึ้น โดยการไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ตั้งใจศึกษาต่อจนจบและศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี การทำงานและเก็บเงินเพื่อสร้างอนาคต 2) การควบคุมตนเองไม่ให้กระทำผิดซ้ำ พบว่า เด็กและเยาวชนใช้วิธีการในการควบคุมตนเองเพื่อไม่ให้การะทำผิดซ้ำ คือ การนึกถึงการเข้ารับการฝึกอบรม การนึกถึงสิ่งที่ทำให้ผู้ปกครองเสียใจ การเสียสละของผู้ปกครอง ภาระหนี้สินที่เกิดจากการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน หน้าที่ความรับผิดชอบต่อลูกและครอบครัว ความต้องการมีอนาคตที่ดีขึ้น ความต้องการการยอมรับจากครอบครัว การปฏิเสธเพื่อน เปลี่ยนแปลงที่ทำงาน เปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย เปลี่ยนแปลงที่เรียน ใช้เวลาว่างในการทำงานพิเศษ หรือไปเที่ยวต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลประจำปี 3) การเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมตนเองไม่ให้กระทำผิดซ้ำ พบว่า เด็กและเยาวชนเสริมพลังอำนาจให้ตนเองโดยการมีเป้าหมายในชีวิต คือ ไม่ต้องการกระทำผิด เพราะกลัวการถูกคุมขัง กลัวการขาดอิสรภาพ กลัวว่าต้องกลับเข้าไปอยู่ในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนอีก การได้รับกรเสริมพลังอำนาจจากครอบครัวในการที่ครอบครัวให้การช่วยเหลือสนับสนุนให้การยอมรับ ให้อภัยและไม่ซ้ำเติม ไม่ตำหนิติเตียน คอยให้คำปรึกษา คอยอบรมสั่งสอนสม่ำเสมอ การแสดงความรักความห่วงใย ดูแลเอาใจใส่มากขึ้น รับฟังปัญหาและพยายามช่วยหาทางออกให้กับปัญหา ช่วยเตือนสติ อยู่เคียงข้างเมื่อเกิดปัญหา คอยให้กำลังใจ สนับสนุนในการศึกษาต่อ ก็สามารถช่วยให้เด็กและเยาวชนมีพลังอำนาจในการควบคุมตนเองไม่ไปกระทำผิดซ้ำ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ผู้ปกครองควรเสริมพลังอำนาจให้เด็กและเยาวชน ดูแลเด็กหรือเยาวชนให้มีความปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ให้อยู่ในความดูแลของผู้อื่นจะต้องดูให้มั่นใจก่อนว่าจะสามารถดูแลเด็กและเยาวชนได้ เด็กหรือเยาวชนมีความปลอดภัยไม่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิด ไม่ควรเปรียบเทียบลูกของตนกับเด็กคนอื่น ควรมีเวลา อยู่เคียงข้าง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้กำลังใจ ให้อภัย ไม่ซ้ำเติม และช่วยเหลือสนับสนุน ; เช่นเดียวกันเด็กและเยาวชนเหล่านี้ย่อมต้องการได้รับการเสริมพลังอำนาจจากคนใกล้ชิด ; ควรเพิ่มกฎระเบียบเพื่อทำให้เด็กและเยาวชนไม่กล้ากระทำผิดซ้ำ ; ควรมีมาตรการเสริมพลังอำนาจในการควบคุมตนเองให้แก่เด็กหรือเยาวชน ; และควรมีการเตรียมความพร้อมผู้ปกครองก่อนปล่อยตัวเด็ก th
dc.description.abstract The research objectives were 1) to study the rational of juvenile's decision not to repeatedly commit violence, 2) to study how juvenile manage their self-control not to repeat the violent act, and 3) to study the empowerment creation of juvenile's self-control not to repeat violent act. The case studies were consisted of five non-repeated violence committed juveniles who were from Juvenile Detention Home in Nong Khai Province and have been trained at least one year from Regional Juvenile Vocational Training Centre 4 in Khon Kaen Province, five guardians, and three of their trustable and close persons. Data collection was an in-depth interviews. Analytical methods were comparison analysis and story line analysis in order to gain the most accurate results. The result founds that, firstly, the rational of not repeatedly committing violence is the fear of probation and rehabilitation processes since they are insecure of being remanded and disciplined, lacked of freedom, and being aware rules. Plus, the goal of their future, such as going back home and be cared by parents, to take care of their children, to continue education or work, to be a family leader, or to pursue their higher education which leads to the enhancement of their life quality. Secondly, how to manage self-control: The study indicates their juveniles recall the hard time during probation and rehabilitation periods, and recognized how what they upset their parents and cause them troubles by being through justice system and paying fines. They are also aware of their burden as a family member, some of them have children and family to take care of, and want them to have a better future. By avoiding committing violence, they tend to change their surroundings and environments, such as group of friends, address, workplace, finding extra jobs, and traveling out of town during holidays. Thirdly, the empowerment of self-controlling. The study indicated that juveniles empower themselves by setting life goal. The goal includes not committing any fault since they are afraid of being remanded, lacked of freedom, and afraid of getting back to the juvenile detention homes. Also, parents play an important part on the support by forgiving and avoid blaming. They give appropriate advices, express love, and take a good care of their children, plus staying closely when they need and do not let them encounter the problems alone. All these factors will help juveniles create their self-control management and not going back to the same path. The research recommendations were that parents should empower their children; keep the children from risky and unsafe situations that could lead to violence and crime; not compare their children to other; spend more time, stay closely, discuss problems together, provide appropriate advice and also good support. These children also need the empowerment from someone close or trust. There should be measures to strengthen the power of self-control. Before the release of their children, the proper preparation for parents to take care of their children who passed the probation program were needed. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การเสริมสร้างพลังอำนาจ th
dc.subject การกระทำผิดซ้ำ th
dc.subject Recidivism th
dc.subject การควบคุมตนเองในวัยรุ่น th
dc.subject Juvenile deliquency th
dc.subject สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน th
dc.title การเสริมสร้างพลังอำนาจในการควบคุมตนเองของเด็กและเยาวชนที่ไม่กระทำผิดซ้ำ ๆ th
dc.title.alternative Self-Control Empowerment of Juveniles to Prevent Recidivism th
dc.type Thesis th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account