การวิจัยประสิทธิผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน องค์กรบริหารตำบลส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ให้มีประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดน้ำตำบล บางน้ำผึ้งที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของ อบต. บางน้ำผึ้ง จำนวน 172 คน และผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง รวมทั้งสิ้น 10 คน คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล บางน้ำผึ้ง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามนโยบายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และกรรมการตลาดน้ำ บางน้ำผึ้ง ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภายในชุมชน และมีรายได้เฉลี่ย ไม่ต่ำกว่าสองแสนบาท/ปี ประกอบอาชีพในตลาดน้ำบางน้ำผึ้งมานานมากกว่า 4 ปี กระบวนการดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง มาจากจิตใจแห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวของประชาชนบางน้ำผึ้งอันเนื่องมาจากความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ไม่ได้มุ่งตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเป็นหลักเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญท้องถิ่นด้วย กระบวนการดำเนินนโยบายเริ่มจากการจัดเวทีประชาคมในตำบล แล้วนำความคิดเห็นของประชาชนไปกำหนดเป็นเป้าหมายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จากนั้นทำการขับเคลื่อนนโยบายโดยการทำความเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของนโยบายกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล และจัดสรรงบประมาณสนับสนุน รวมทั้งใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารนโยบาย ประสิทธิผลของนโยบาย การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) รายได้ของผู้ประกอบการ 2) ความมั่นคงของอาชีพ 3) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4) ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน 5) การศึกษา / ศาสนา / ศิลปวัฒนธรรม และ 6) ความสัมพันธ์อันดีของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อนโยบาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.887 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง จึงทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในภาคส่วนของประชาชนอย่างเต็มที่ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนภายในชุมชน ในด้านการประชาสัมพันธ์ จึงทำให้ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งเป็นที่รู้จักของผู้คนอย่างรวดเร็ว ทั้งการเดินทางที่สะดวกสบาย ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก มีผลให้มีผู้คนจำนวนมากสนใจมาเที่ยวชม จับจ่ายซื้อของภายในตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจนเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ สำหรับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงนโยบายให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น อบต. ควรมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาพื้นที่สีเขียนในตลาดบางน้ำผึ้งให้มากขึ้น ควรมีนโยบายติดตามและประเมินผลนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ ควรจัดการประชุมร่วมระหว่างผู้ค้าขายในตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง กับผู้นำ อบต. บางน้ำผึ้ง เพื่อวางแผนการประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งการค้าที่เป็นที่รู้จักมากขึ้น ควรส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในตลาดน้ำบางน้ำผึ้งให้มีความหลากหลายทั้งผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการพัฒนาอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการกระตุ้นและสร้างลักษณะนิสัยของผู้ค้าให้มีความคิดสร้างสรรค์อยู่เรื่อยๆ เพื่อพัฒนาตลาดน้ำให้มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ในด้านบุคลากรควรมีการเพิ่มตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานให้มากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดน้ำ ควรเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้รัดกุมอีกทั้ง ควรมีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้มากยิ่งขึ้น เช่น ตู้เบิกเงินอัตโนมัติ (ATM) ห้องน้ำ ถังขยะ เพราะเป็นการบริการที่นักท่องเที่ยวส่วนมากต้องใช้ รวมไปถึงการปรับปรุงทางเท้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากขึ้น
This research have the objectives to study the procedures and effectiveness of the ecotourism promotion policy towards life quality of community residents under the administration of BangNamPhueng Sub-district Administrative Organization, PhraPradaeng District, Samutprakarn Province. It also provided the guidelines and further suggestions for the improvement of the ecotourism promotion policy affecting the quality of life of people in BangNamPhueng Sub-district. The samples of this study consisted of 172 entrepreneurs in BangNamPhueng Floating Market, who gained the benefits from the conservation tourism promotion policy of BangNamPhueng Sub-district Administrative Organization and 10 stakeholders being engaged in the conservation tourism promotion policy of BangNamPhueng Sub-district, that is, the chief executive and the permanent secretary of BangNamPhueng Administrative Organization, the officers following the eco-tourism promotion policy including the committee of BangNamPhueng Floating Market. The research results revealed that the most samples obtained the bachelor's degree. Most of them worked in the community and gained the average income in the amount of at least Baht 200,000 per year. Most of them have been working in BangNamPhueng Floating Market for over 4 years. The procedures for the eco-tourism promotion policy of BangNamPhueng Sub-district Administrative Organization was derived from the environmental conservation spirit, encouraged by King Bhumipghol, of people in BangNamPhueng Sub-district, who wanted not only to satisfy the tourist but also to maintain their own cultural and traditional uniqueness and local wisdom. The procedures were begun with the civil society forum organized in the sub-district. The brainstormed opinions of the local people were then determined as the target and strategy for the eco-tourism promotion. After that the objectives and targets of the policy were discussed among the officers of the Sub-district Administrative Organization to allocate the budget. The good governance was used in the policy management. The effectiveness of eco-tourism promotion policy affecting the life quality of local people in the following aspects: 1) Income of the entrepreneurs; 2) Occupational Stability; 3) Safety of Life and Property; 4) Nature and Environment of Community; 5) Education, Religion, Art, Culture; and 6) Good Relationship in Family. Most samples were satisfied relatively with the eco-tourism promotion policy, as the average of 3.887. Therefore, the public participation was very supported not only by the local people but also by the private sector in the community in terms of the public relations. As such, BangNamPhueng Floating Market became well-known to the tourists in a short time due to the travel convernience and ideal location, which is not so far from Bangkok. Thus, the community economy of BangNamPhueng Floating Market was constantly developed. Concerning the suggestions to improve the effectiveness of the policy, the Sub-district Administrative Organization should enhance the public participation for the improvement of the green zone of BangNamPhueng Floating Market. The eco-tourism promotion policy should be followed-up and evaluated systematically. The meeting should be held between the entrepreneurs in BangNamPhueng Floating Market and the leaders of the Sub-district Administrative Organization so that the strategic plan on public relations can be determined. In addition, the products of BangNamPhueng Floating Market should be more developed in terms of the variety whereas the local entrepreneurs should be motivated to gain the leadership and creativity. In terms of the manpower, more staffs should be assigned to support the growth of BangNamPhueng Floating Market. At the same time, the measures for the safety of life and property should be increased. Furthermore, the facilities e.g. Automatic Telling Machines (ATM), toilets, bin etc. should be more provided while the path should be expanded to support the creasing amount of tourists.