งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพรรณไม้และเพื่อเปรียบเทียบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพรรณไม้ต่างชนิดในสวนสุขภาพมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ การเก็บข้อมูลภาคสนามและคำนวณปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพดำเนินการตามระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ไม้ยืนต้นทุกต้น จำนวน 123 ต้น (12 ชนิด)
และมีกลุ่มตัวอย่าง 94 ต้น (8 ชนิด) สถิติในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และสถิติทดสอบครัสคัล-วอลลิส ผลการศึกษาพบว่าปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเท่ากับ 32,916 กิโลกรัม (คิดเป็น 12,421 กิโลกรัมต่อไร) และชนิดพรรณไม้ที่แตกต่างกันได้แก่ จามจุรี ประดู ขี้เหล็ก พญาสัตบรรณ หางนกยูงฝรั่ง ยูคาลิปตัส พิกุล และนนทรี มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยูคาลิปตัสและจามจุรี มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (median=732 และ 583 กิโลกรัม)
ในขณะที่มีความแตกต่างกับพรรณไม้ชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ นนทรี พญาสัตบรรณ ขี้เหล็ก ประดู่ หางนกยูงฝรั่ง และพิกุล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (median = 67.9, 54.3. 53.2, 30.7, 22.1 และ 9.6 กิโลกรัม ตามลำดับ)
The objectives of this research were to evaluate a total amount of carbon storage in biomass of trees and to compare amount of carbon storage in biomass by different types of trees at a health park in Huachiew Chalermparkiet University, Thailand. Determining the total amount of carbon storage in biomass of trees used calculations from carbon sequestration in biomass according to a methodology of Thailand Voluntary Emission Reduction Program as a standard method. The study population was composed of 123 trees (12 species) and population samples were 94 trees (8 species). Statistics used were percentage, mean, median and Kruskal-Wallis test. The results found that 1) the total amount of carbon storage in biomass of all trees was 32,916 kg (or 12,421 kg/rai) and 2) There was a statistically significant difference of the amount of carbon storage in biomass which classified by tree species (p<0.05, n=94), Eucalyptus camaldulensis and Samanea saman which were no statistically significant difference
(median=732.1, 583.2 kg), there were statistically significant differences from six species. Whereas Peltophorum dasyrachis, Alstonia scholaris, Senna siamea, Pterocarpus macrocarpus, Detonix regia, and Mimusops elengi were no statistically significant difference (median=67.9, 54.3, 30.7, 22.1, and 9.6 kg, respectively).