การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพและน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้า จากนั้นจับคู่เข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 31 คนเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.00 แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 และ 0.80 ตามลำดับและการตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสมวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t- test และ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.90 มีอายุเฉลี่ย 48.59 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 41.93 เคยได้รับความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ร้อยละ 82.30 ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ (53.65 และ 41.42 ตามลำดับ) มากกว่าก่อนการทดลอง (38.77 และ 30.00 ตามลำดับ) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ (53.65 และ 41.42 ตามลำดับ) มากกว่ากลุ่มควบคุม(38.51 และ 32.16 ตามลำดับ) และกลุ่มทดลองมีน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (8.21) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (9.69) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะ โปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพนี้ สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ลงได้
This quasi-experimental research was to study the effect of health literacy program on health literacy, health behaviors and hemoglobin A1c among uncontrolled type 2 diabetes mellitus patients. The purposive sampling was used, which the samples were diabetes patients. They were then paired into a experimental group and a control group of 31 people each. The research instruments were the health literacy program, which had content validity at 1.00. The health literacy assessment and health behaviors instrument had reliability at 0.84 and 0.80, respectively. Whereas, hemoglobin A1c had been tested. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, pair t-test and independent t-test. The results showed that the majority of the sample were female, which was 62.90 percent. Average age was 48.59 years, secondary education was 41.93 percent. Approximately 82.30 percent had received the knowledge of diabetes. After the experiment, the experimental group had mean score of health literacy and health behaviors at 53.65 and 41.42 respectively which had higher than before the experiment at 38.77 and 30.00 respectively. The experimental group had mean score of health literacy and health behaviors at 53.65 and 41.42 respectively which had higher than the control group at 38.51 and 32.16 respectively. The experimental group had lower hemoglobin A1c (8.21) than the control group (9.69), which was a statistically significant at the .01 level. Suggestion, this health literacy program could reduce blood sugar level of type 2 diabetes mellitus patients