DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author พจน์ จิระบลกิจ
dc.contributor.author Poj Jirabonkit
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2022-05-05T05:58:37Z
dc.date.available 2022-05-05T05:58:37Z
dc.date.issued 1998
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/243
dc.description วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 th
dc.description.abstract การศึกษานี้ ต้องการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ การปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น และประกอบด้วยแบบวัดด้านการมุ่งอนาคต การเชื่ออำนาจในตน การควบคุมตนเองและการสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่าง 331 นาย เป็นชั้นสัญญาบัตร (รอง สว.-รอง ผกก.) จำนวน 20 นาย ระดับชั้นประทวน (ผบ. หมู่-ลูกแถว) จำนวน 311 นาย อายุเฉลี่ย 33.56 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาจากหลักสูตรนักเรียนพลตำรวจ รายได้ส่วนใหญ่เพียงพอไม่เหลือเก็บ และอายุราชการเฉลี่ย 11.59 ปี ด้านการมุ่งอนาคต ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่มีการมุ่งอนาคตค่อนข้างสูง และสูงกว่าตัวแปรทุกตัว ด้านการควบคุมตนเอง ข้าราชการตำรวจมีการควบคุมตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นเพราะการมุ่งอนาคตของตำรวจสูงและการควบคุมตนเองเป็นสิ่งสอดคล้องกันในปรากฏการณ์เดียวกัน จึงทำให้การควบคุมตนเองของตำรวจอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ด้านการเชื่ออำนาจในตน ข้าราชการตำรวนมีการเชื่ออำนาจในตนค่อนข้างต่ำ ซึ่งการเชื่ออำนาจในตนของข้าราชการตำรวจอยู่ในระดับต่ำที่สุดกว่าทุกตัวแปร ซึ่งสาเหตุจากการวิเคราะห์น่าจะเกิดจากระบบของข้าราชการตำรวจปัจจุบันยังเชื่อในระบบอุปถัมภ์อยู่ ด้านการสนับสนุนทางสังคมของข้าราชการตำรวจ อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยมีการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวสูงสุด โดยน่าจะมาจากสาเหตุสังคมไทยยังนิยมการได้รับเกียรติยศ การเป็นเจ้าขุนมูลนาย ด้านพฤติกรรมการปฏิบัติตามอุดมคติของตำรวจ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมในเรื่องการไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบากสูงสุด ผลการศึกษาโดยวิธีการวิเคราะห์ถอถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) พบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ ได้แก่ การมุ่งอนาคต การควบคุมตนเอง การสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชา และการเชื่ออำนาจในตน ซึ่งทั้ง 4 ปัจจัย สามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการปฏิบัติตามอุดมคติของตำรวจ ได้ร้อยละ 20.70 (R [square] =.2070) และมีความสัมพันะกับการมีพฤติกรรมการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจในระดับปานกลาง (R = .45507) การทดสอบสมมติฐานพบว่า การมุ่งอนาคต การเชื่ออำนาจ การควบคุมตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม มีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ ส่วนปัจจัยทางชีวสังคมมีเพียงอายุที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ ก็คือ กรมตำรวจควรต้องส่งเสริมได้ว่า ราชการมีการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจโดยการฝึกอบรมให้ข้าราชการตำรวจ มีการควบคุมตนเอง การมุ่งอนาคตและการเชื่ออำนาจในตนเอง รวมทั้งส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ปฏิบัติให้ตำรวจได้รับการสนับสนุนทางด้านจิตใจ อันจะทำให้สามารถปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจให้สูงขึ้นอีกด้วย th
dc.description.abstract This research aims to study factors effecting work ideology of police in Samutprakarn Province. 331 samples were picked up from 4 police offices; Bangplee office, Samrong-nua office, Samutprakarn office and office of special operations. Questionnaires consisted of 6 parts; personal data, a self-control test, a future orientation trait test, a belief in internal locus of control test social support test, and a test on police ideological work. The data was analyzed through SPSS/PC+ computer coefficient and multiple regression. The study has shown that 20 police were commissioned officers and 311 were non-commissioned officers. Their average age was 33.65 years, mostly finished from school of ordinary police, and have been working for 11.59 years in average. The results of the study on self control future orientation trait, belief in internal locus of control and social support as follow: - The police's future orientation trait was in moderate high level, lower was police's self control and the belief in internal locus of control was the lowest. - Police received social support in moderately high level, the highest support was from families. - Police's behavior on working ideally was moderate, the highest level on such behavior was to work impatiently. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject อุดมคติ (จิตวิทยา) th
dc.subject ข้าราชการตำรวจ -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject ตำรวจ -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject Police -- Thailand -- Samutprakarn th
dc.subject Ideals (Psychology) th
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามอุดมคติตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการตำรวจในจังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative Factors Effecting Work Ideology of Police : A Case Study of Police in Samutprakarn Province. th
dc.type Thesis th
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account