การศึกษาความต้องการและการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการและการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการและการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยคำนึงถึงตัวแปรด้านเพศ อายุ การศึกษา ภาวะสุขภาพ การอาศัยในเขตจังหวัด โครงสร้างครอบครัว สถานภาพและบทบาท แบบแผนการดำเนินชีวิต และฐานะทางเศรษฐกิจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 416 คน ได้แก่ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครจำนวน 259 คน สมุทรปราการจำนวน 34 คน นนทบุรีจำนวน 44 คน นครปฐมจำนวน 37 คน สมุทรสาครจำนวน 19 คน และปทุมธานีจำนวน 23 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุ (Multiple Regression) แบบปกติ (Enter Method) ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุของเพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 60-65 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา และสมรสแล้ว สำหรับภาวะสุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุมีความคิดเกี่ยวกับภาวะสุขภาพตนเองว่าอยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ และมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท แหล่งรายได้ที่ได้มาจากบุตรหลานมากที่สุด กรณีที่ผู้สูงอายุมีรายได้ไม่เพียงพอ จะขอเพิ่มจากบุตร หลาน ญาติมากที่สุด และจากศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พบว่า ผู้สูงอายุไม่ได้ประกอบอาชีพเป็นส่วนใหญ่จะดูแลลูกหลาน ส่วนผู้สูงอายุที่ยังประกอบอาชีพอยู่ส่วนมากจะมีอาชีพค้าขาย สำหรับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตก่อนมีอายุ 60 ปี พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีการดำเนินชีวิตเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการเรื่องต่างๆ ที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ สวัสดิการต่างๆ รายได้ การดูแลเอาใจใส่ และการเยี่ยมเยียนจากลูกหลาน การที่ลูกหลานเชื่อฟังคำสั่งสอน การแสวงงหาความสงบ และการศึกษาในศาสนาของผู้สูงอายุ ส่วนผลการศึกษาการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีการปรับตัวทางสังคมได้ดี สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลกับความต้องการของผู้สูงอายุมีหลายประการ คือ เพศ รายได้ เขตที่อยู่อาศัย ภาวะสุขภาพ และแบบแผนการดำเนินชีวิต โดยตัวแปรดังกล่าวมีอิทธิพลกับความต้องการของผู้สูงอายุ 3 ด้านคือ ฐานะความเป็นอยู่่ การยอมรับ การรู้สึกตนมีคุณค่า และการแสวงหาตนเอง โดยผู้ที่ฐานะดี ทำกิจกรรมมาก อยู่ในกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้สูงอายุเพศหญิง มีความต้องการแสวงหาตนเองสูง ส่วนกลุ่มที่ทำกิจกรรมมากอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีความต้องการด้านฐานะความเป็นอยู่มาก สำหรับกลุ่มที่สุขภาพดีจะต้องการการยอมรับมาก และรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่ามาก ส่วนผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุมีหลายประการ คือ ภาวะสุขภาพ เขตที่อยู่อาศัย แบบแผนการดำเนินชีวิต การศึกษา และฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งตัวแปรที่มีอิทธิพลกับการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุ คือ การรู้จักตนเองและคุณค่าตนเอง ความมั่นคงทางจิตใจ การรับฟังและทำความเข้าใจผู้อื่น การให้ความรักและรับความรักจากผู้อื่น และการไม่วิตกกังวลและหวาดกลัว โดยปัจจัยด้านสุขภาพ คือ การมีสุขภาพดีมีผลต่อการปรับตัวของผู้สูงอายุเกือบทุกด้าน คือ รู้จักตนเอง มีความมั่นคงทางจิตใจ รับฟังและทำความเข้าใจผู้อื่น ให้และรับความรักจากผู้อื่น ส่วนการมีการศึกษาดีและอยู่ในกรุงเทพมหานครสามารถปรับตัวได้ดีด้านความมั่นคงทางจิตใจ รับฟังและทำความเข้าใจผู้อื่น ให้และรับความรักจากผู้อื่น สำหรับผู้สูงอายุที่ทำกิจกรรมมากสามารถให้และรับความรักจากผู้อื่นได้ดี และไม่วิตกกังวลในการมีชีวิตอยู่เช่นเดียวกับการมีรายได้ดีทำให้ไม่วิตกกังวล ขณะที่ผู้ที่มีสถานภาพทางสังคมเช่นเดิมจะมีการรู้จักตนเองและคุณค่าของตนเอง จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะ ระดับนโยบาย ด้านสวัสดิการสังคม เศรษฐกิจ กฎหมาย ส่วนสถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นระดับปฏิบัติ ตัวผู้สูงอายุว่าควรรู้จักและเตรียมการเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุ ตลอดจนองค์กรภาคเอกชน ชุมชน และนักวิชาการ ในการร่วมกันเสนอถึงแนวทาง มาตรการการแก้ไข ป้องกัน ปัญหา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งนับว่ามีคุณค่ามากมายต่อสังคมไทย สำหรับข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการทำวิจัยเปรียบเทียบในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่อยู่ส่วนภูมิภาค เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างของความต้องการและการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในระดับประเทศต่อไป และการศึกษาศักยภาพการทำงานของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำงานซึ่งทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่ามีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับในสังคม
This research has an objective to study the needs of elderly people and their social adjustment including the factors which effected the needs and social adjustment of elderly people in Bangkok Metropolitan and its suburbs. Independent variables included sex, age, education, health, place of residence, family structure, marriage status, role in family, life-style and economic status. Data collected from 416 samples, 259 samples from Bangkok, 34 from Samutprakarn, 44 from Nonthaburi, 37 from Nakornpratom, 19 from Samutprakarn and 23 from Pratumthani. Data collected from 416 samples, 259 samples from Bangkok, 34 from Samutprakarn, 44 from Nonthaburi, 37 from Nakornpratom, 19 from Samutprakarn and 23 from Pratumthani. Data analysis was done by Statistical Package for Social Science (SPSS) using Multiple Regression with Enter Method. The study has shown that the number of male group was almost equal to the female group. Most of the elderly people ages between 60-65 years. Their education mostly was up to grade 6 and most of them were moderately healthy married. Regarding their health, the study has shown that the elderly thought that they had average health. They received an average income of Bht. 5,000 per month mostly from their children or grandchildren. In case of insufficient income, most of them asked for more income from their children, grandchildren or relatives. For the elderly people who were still working, most of them had their jobs in commercial sector. Regarding the changing of lifestyle, compared lifestyle at the earlier years before 60 to the present year of age, it has shown that their lifestyle. On the needs have not changed much of the elderly people, the result of this study has shown that they had a lot of different needs. Regarding the social adjustment of the elderly people, it could be noted that they have adjusted well to the society in different aspects. On the study of the factors effected the needs of elderly, it has shown that there were a lot of factors involved the needs of the elderly people i.e. sex, income, place of residence, health and lifestyle. These factors effected the needs of elderly people in 3 areas i.e. social status, acceptance, self-esteem and self actualization. The factors effected the social adjustment of the elderly were health, place of residence, lifestyle, education and economic status. These factors effected the social adjustment of the elderly people in self-knowledge, self-esteem, safety, listening and understanding others, to have and to be loved by others, absence of anxiety and fear. The result of this study has revealed the truth which will lead to some suggestions to related institutions and organizations, regarding their policy on social services, economics, laws and activities towards the elderly, non-government organisations, people organisations and the academicians to present the direction, strategies to prevent and solve the problems of the elderly people who are valuable human resources. As for the suggestion for the next research, there should be researches comparing elderly people between those in different place in the rural areas to see their difference of needs and social adjustment at the national level, finding this job efficiency in order to provide opportunity for them to work which could fullfil their satisfaction self-esteem and social status.