การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการคนพิการของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และความต้องการในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการคนพิการของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ได้รับการประเมินจากกระทรวงศึกษาธิการ 2) เพื่อศึกษาความต้องการในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้สามารถเข้าถึงสิทธิสวัสดิการที่เหมาะสม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการคนพิการของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่ได้รับการประเมินจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ เพศ ระดับชั้นทางการศึกษา สถานภาพการอยู่อาศัย จำนวนสมาชิกในครอบครัว รายได้ต่อเดือนของครอบครัว รายจ่ายต่อเดือนของครอบครัว อาชีพของผู้ปกครอง ระดับความรู้เรื่องโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก และสัมพันธภาพในครอบครัว สำหรับสิทธิสวัสดิการที่ได้รับสามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ และด้านสิทธิสวัสดิการสังคม ทั้งนี้ความต้องการของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3 อันดับแรก คือ 1) ต้องการให้เด็กสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้โดยไม่ถูกการตีตราจากคนรอบข้างมากที่สุด 2) ต้องการให้โรงเรียนเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญของเด็กพิการทางการเรียนรู้ และ 3) ต้องการให้มีการส่งเสริมการดูแลเด็กอย่างทั่วถึง ข้อเสนอแนะ คือ กระทรวงศึกษาธิการต้องมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกโรงเรียนจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) มีบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่จำเป็นและทันสมัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องมีนโยบายสนับสนุนเงินสวัสดิการเพื่อการดำรงชีพสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ต้องเป็นหน่วยงานหลักที่เสริมสร้างเจตคติที่ดีของสังคม ต่อเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพื่อลดการตีตรา และสนับสนุนการทำงานขององค์กรด้านคนพิการในระดับพื้นที่ โดยมีรูปแบบการทำงานเชิงรุกมากขึ้น
The research on the factors affecting access to the welfare of children with learning disabilities (LDs) and their needs has three objectives: 1) To investigate the factors impacting access to welfare rights for children with LDs, as determined by the Ministry of Education; 2) To assess the support requirements of children with LDs; and 3) To provide recommendations for enhancing and supporting access to appropriate welfare for children with LDs. This research employs a mixed-methods approach using an Explanatory Sequential Design, and the findings of the quantitative study were interpreted and described using qualitative data analysis techniques. The results revealed that the factors affecting disability welfare rights for children with LDs, as determined by the Ministry of Education, were influenced by the factors of gender, education level, residency status, family size, monthly household income, monthly household expenses, parental occupation, parents' understanding of LDs, children's learning behaviors, and family relationships. The welfare rights received can be divided into three areas: education, medical welfares, and social welfare rights. The top three critical needs expressed by parents in caring for children with LDs were: 1) Desire for their children to experience reduced stigmatization and to be able to live a more integrated life with others; 2) Desire for schools to acknowledge and appreciate the difficulties faced by children with LDs and their significance; and 3) want to promote comprehensive and all-round child care. However, when evaluating the accessibility of the disability welfare system, according to the opinions of medical professionals, educational personnel, and personnel involved in disability welfare rights, it was found that: With regard to education, it is recommended that schools develop Individual Education Plans (IEPs) and increase the number of educational professionals; In terms of the medical field, there is a need for an increase in personnel and hospitals; and In terms of social welfare, access to government-provided welfare services should be made available. Recommendations for the Ministry of Education, there should implement policies that support and encourage all schools to develop IEPs, have dedicated educational staff for children with LDs, and provide necessary and up-to-date educational facilities. The Ministry of Social Development and Human Security, as suggested by the research findings, was recommended to implement policies that provide subsistence support for children with LDs. The Department for Empowerment of Persons with Disabilities is recommended to take the lead in promoting positive attitudes towards children with LDs in society, reducing stigma, and supporting the efforts of local disability organizations. The department should adopt a proactive approach instead of a defensive.