dc.contributor.advisor |
ขัตติยา กรรณสูต |
|
dc.contributor.advisor |
Kattiya Kannasut |
|
dc.contributor.author |
กฤตวรรณ สาหร่าย |
|
dc.contributor.author |
Kittawan Sarai |
|
dc.contributor.other |
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-07T13:38:38Z |
|
dc.date.available |
2022-05-07T13:38:38Z |
|
dc.date.issued |
2019 |
|
dc.identifier.uri |
https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/253 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.) (การบริหารสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2562 |
th |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาสถานการณ์ความต้องการและปัญหาการดูแลระยะยาว วิเคราะห์ นโยบาย แผน กลไก มาตรการ และกระบวนการทดลองรูปแบบการดูแลระยะยาว แนวทางการดูแลระยะยาวของประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำเสนอรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่อุตสาหกรรมประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีคะแนนดัชนีบาร์เทลความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในช่วง 5-11 คะแนน 70.1% ในขณะที่ผู้สูงอายุที่มีคะแนนความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน เท่ากับหรือน้อยกว่า 4 คะแนน 29.9% ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เจ็บป่วย 98.9% ผู้สูงอายุมีคนดูแลตลอดทั้งวัน 42.3% ที่เหลืออีก 41.4% มีคนดูแลบางช่วงเวลาและมีผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง 16.3% ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความต้องการดูแลระยะยาวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.47 ซึ่งสามารถเรียงตามลำดับดังนี้ บริการชุมชน ค่าเฉลี่ย 3.70 รองลงมาบริการที่บ้าน ค่าเฉลี่ย 3.43 และบริการในสถาบัน ค่าเฉลี่ย 3.11 ปัญหาการดูแลระยะยาวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.63 แนวทางการดูแลระยะยาวประเทศญี่ปุ่น พบว่า 1) กลุ่มเป้าหมายภายใต้การประกันการดูแลระยะยาว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ประกันตนประเภทที่ 1 บุคคลที่มีอายุ 65 ปี หรือมากกว่านั้น ต้องการการดูแลหรือบริการสนับสนุนตามเหตุผลที่เหมาะสม ผู้ประกันตนประเภทที่ 2 บุคคลที่อายุ 40-64 ปี ทุกข์ทรมานจาก 16 โรคเฉพาะที่มีความสัมพันธ์กับความชรา 2) ประเภทของการดูแลระยะยาว ได้แก่ 2.1 ความต้องการดูแลระยะยาว ระดับ 1-5 2.2) ความต้องการสนับสนุนป้องกันระดับ 1-2 2.3) บุคคลที่ไม่ได้รับการรับรอง คือ บุคคลที่ช่วยเหลือตัวเองได้จะมีบริการส่งเสริมสุขภาพหรือบริการป้องกันการดูแลระยะยาวโดยทั่วไป 3) การร่วมจ่ายระหว่างรัฐบาลกับผู้ใช้บริการซึ่งจ่ายเพียงร้อยละ 10-20 ตามรายได้ของประชาชน 4) การดูแลโดยใช้ชุมชนเป็นฐานให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ 5) การจำกัดบริการ เป็นไปตามการแบ่งประเภทตามเงื่อนไขสภาพร่างกายและจิตใจที่ได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการ จากข้อค้นพบผู้วิจัยนำเสนอรูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่อุตสาหกรรม โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก อายุ 40-59 ปี เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : NCDs) กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปี หรือมากกว่านั้น ควรเตรียมพร้อมเข้าสู่ระบบการดูแลระยะยาว และกลุ่มที่ 3 คือ ผู้สูงอายุที่สามารถช่วยตัวเองได้ ควรเข้าสู่การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การจำแนกผู้สูงอายุประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันให้ครอบครัวและชุมชนร่วมกัน ประเมิน เน้นการบริการชุมชนและการบริการที่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดทำบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ระบบการดูแลระยะยาวควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นสังคมที่มีความยั่งยืน |
th |
dc.description.abstract |
This research aim to study the factors of asset management to achieve efficiently identified problems and suggestions at the King Chulalongkorn Memorail Hospital, Thai Red Cross Society. The population is 179 staff members. And in-depth interviews, the statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, and content analysis. The research results were found that 1) With the procurement functions, the document management seemed to be effectively in overall. To provide the supplies was delayed, though. Staff lacked of knowledge and understanding. Therefore, the concerned training for the operators on a regualr basis was significantly recommeded. 2) The general receiving operation was effective. Thus, there was a problem that the receiving documens did not match what actually received. To suggest, before the actual, receiving examination, the concerning documents should be submitted to the committee. 3) The total asset registration was not effcetive. The problem was staff lacked of knowledge and understanding. To provide the manual for each step was recommended. 4) The normal control, maintenance, repair, and the asset disposal were not effective. The problem was found that there was not any notification when supplies were removed to the responding department. To suggest, the staff must work closely with each other. |
th |
dc.language.iso |
th |
th |
dc.publisher |
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ |
th |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ -- การดูแลระยะยาว |
th |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย |
th |
dc.subject |
Older people -- Long-term care |
th |
dc.subject |
Older people -- Health and hygiene |
th |
dc.title |
รูปแบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่อุตสาหกรรม |
th |
dc.title.alternative |
Long-Term Care Model for the Elderly in the Industrial Area |
th |
dc.type |
Thesis |
th |
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
th |
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
th |
dc.degree.discipline |
การบริหารสวัสดิการสังคม |
th |