การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของศูนย์ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดปัญหาทางคลินิก 2) การทบทวนและสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยกำหนดคำสำคัญในการสืบค้นข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล และประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยใช้เกณฑ์ของเมลนิคและไฟเอาท์ ได้หลักฐานเชิงประจักษ์จำนวน 18 เรื่อง ประกอบด้วยงานวิเคราะห์ทบทวนงานวิจัย 6 เรื่อง งานวิจัยเชิงทดลอง 2 เรื่อง งานวิจัยกึ่งทดลอง 3 เรื่อง งานวิจัยติดตามไปข้างหน้า 2 เรื่อง งานวิจัยเชิงบรรยาย 2 เรื่องและหลักฐานจากผู้เชี่ยวชาญ 3 เรื่อง แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัด 3) การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลลงสู่การปฏิบัติโดยใช้เกณฑ์ของโพลิคและเบค และให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาของแนวปฏิบัติการพยาบาล แล้วจึงนำไปทดลองใช้กับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จำนวน 5 คน ที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัด ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และพำนักอยู่ในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ศูนย์ ได้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง ศูนย์บริการสาธารณสุช 24 บางเขน ศูนย์บริการสาธารณสุข 50 บึงกุ่ม และ ศูนย์บริการสาธารณสุข 65 รักษาสุชบางบอน ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2552 ถึงเดือนตุลาคม 2552 และ 4) การวิเคราะห์ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงให้เป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศผลการศึกษาพบว่า ได้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัดซึ่งประกอบด้วย (1) แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน มีขั้นตอนการปฏิบัติ 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมจำหน่ายผู้ป่วย ระยะที่ 2 ระยะติดตามเยี่ยมบ้าน และ (2) คู่มือการปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับยาเคมีบำบัดข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ (1) ควรมีการวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับยาเคมีบำบัดและควรมีระบบติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนาความแม่นตรงของแนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างน้อยทุก 6 เดือน และ (2) PCU ควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรก่อนนำแนวปฏิบัติไปใช้ ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
The purpose of this independent study was to develop the clinical nursing practice guideline (CNPG) for home continuing care to prevent infection of chemotherapeutic lymphoma patient by using the evidence base practice model of the Center for Advance Nursing Practice, the evidence – based practice was adapted as a framework for this clinical nursing practice guideline which consisted of 4 phases ; (1) evidence trigger phase, the specification the clinical problem ; (2) evidence supported phase, searching for relevant evidences by specifically keywords, therefore 18 related literatures were selected, six systematic reviews, two randomized control trail researches, three quasi-experimental researches, two prospective researches, two descriptive researches and three expert’s opinions. The conclusion from analysis and synthesis of all relevant evidences were used to determine the CNPG for home continuing care to prevent infection of chemotherapeutic lymphoma patient lists, (3) evidence observed phase, possibility to using CNPG and evaluated by Polit and Beck framework and by t here clinical experts then applied to 5 lymphoma patients received chemotherapy in Chulalongkorn Hospital and lived in the responsibility area of 4 primary care units of Bangkok Metropolitan; primary care unit 4 (Din Dang), unit 24 (Bang Cken), unit 50 (Bueng Koom) and unit 65 (Bang Born) during May to October, 2009. And (4) evidence based phase, the outcomes of applying the CNPG was analyzed and proposed the recommendations in order to adjust to best practice. The study revealed that the CNPG composed 2 parts: part one was clinical nursing practice guideline which deviced into 2 phases, first, discharging phase and second phases was home visiting phase; part two handbill for chemotherapeutic lymphoma patient. This study has two: first, there should have the research for applying the CNPG for continuing nursing care to prevent infection in other groups of chemotherapeutic patients and there should have monitoring system to develop the accuracy of the CNPG for at least in 6 months; and second, the PCU should enhance the knowledge and understanding of personnel before implementation, including monitoring and evaluation of the CNPG application.