อาการเวียนศีรษะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการเข้าร่วมสังคม จากการค้นคว้าพบงานวิจัยจำนวน น้อยที่ศึกษาในวัยหนุ่มสาวและไม่ทราบผลที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อศึกษาความมั่นคงของการ มองเห็นและความเร็วของการหันศีรษะด้วยตนเองโดยใช้การเปรียบเทียบ และความเร็วของการหันศีรษะด้วยตนเอง ระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีอาการเวียนศีรษะ อาสาสมัครอายุระหว่าง 20 – 40 ปี ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก แบ่งเป็น กลุ่มที่มีและไม่มีอาการเวียนศีรษะ ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มของความมั่นคงของการมองเห็น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติความเร็วของการหันศีรษะ (P<0.05) นอกจากนี้พบว่ากลุ่มที่มีอาการเวียนศีรษะมีปัญหาการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการ
Dizziness had the impacts on the way to continue daily living activities and social life. According to the review, there are few studies conducted on young adults and the results are inconclusive. The aim of this study is to assess gaze stability and self-turning head speed by comparing dynamic visual acuity (DVA) and volitional head movement, VHM) between persons with and without dizziness. The eligible participants between the ages of 20-40 were divided into dizziness group and without dizziness group. The result reveals that there was no statistically significant difference between groups in DVA (P>0.05), but the statistically significant difference was presented in VHM (P<0.05). In addition, the dizziness group had more difficulties in performing activities of daily living than the group without dizziness.