การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงจิตวิทยาและการยอมรับอุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคลของพนักงานฝ่ายการผลิตในสถานประกอบการผลิตอาหาร โดยประชากรที่ศึกษาเป็น พนักงานฝ่ายการผลิต จำนวน 97 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกันยายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือวิจัยเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทุติยภูมิเป็นเอกสารข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน และแบบสอบถามปัจจัยเชิงจิตวิทยาและการยอมรับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลจำนวนทั้งสิ้น 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบความสัมพันธ์ใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson product moment correlation coefficient)
ผลการศึกษาพบว่า พนักงานฝ่ายการผลิตในสถานประกอบการผลิตอาหารส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุในช่วง 30-39 ปี มีการศึกษาสูงสุดในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีอายุงานในสถานประกอบการแห่งนี้ 6-10 ปี มีภาพรวมของ ค่าปัจจัยเชิงจิตวิทยาอยู่ในระดับปานกลาง และการยอมรับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอยู่ในระดับ ค่อนข้างมาก โดยค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) เท่ากับ 3.47 (0.13) และ 4.08 (0.88) ตามลำดับ ผลทดสอบ ความแตกต่างของปัจจัยเชิงจิตวิทยาตามกลุ่มแผนกพบว่า มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.35) แต่เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าประเด็นการไม่หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเพื่อให้ งานเสร็จเร็วขึ้นและขัดขวางการทำงานมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) โดยแผนกฟิลลิ่ง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดและแตกต่างจากแผนกอื่น สำหรับระหว่างปัจจัยเชิงจิตวิทยามีความสัมพันธ์กับปัจจัยการยอมรับ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ( p-value = 0.09)
This research aimed to study the relationship between psychological factors and the acceptance of personal protective equipment for production workers in food production manufacturing. The population studied was 97 manufacturing workers, data collected from September to December 2020. The research tool was divided into 2 parts: the secondary data was a report of personal information of employees and a questionnaire of the psychological factors and the acceptance of personal protective equipment which had 20 items. The data were analyzed with frequency, percentage, mean and standard deviation. compare the differences using a one-way ANOVA, test the relationship using the Pearson product moment correlation coefficient. Results showed that most of the production workers in food manufacturing are female, aged
30-39, with the highest education at the lower secondary level. The working age at this manufacturing was 6-10 years with rate of the psychological factor and the acceptance of personal protective equipment were moderate level and relatively high level, with the mean (standard deviation) of 3.47 (0.13) and 4.08 (0.88), respectively. The results of the difference of psychological factors by section group were tested. There was no statistically significant difference (p-value = 0.35). However, when considering each of the items, the point of avoiding the use of personal protective equipment to complete the work faster and hinder work was significantly different (p- value <0.05). The filling section was the least average and different from other sections. Between the psychological factors there was no statistically significant correlation with the personal safety equipment acceptance factor (p-value = 0.09).