การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาความแตกต่างของน้ำหนักกระเป๋ากับท่าทางการสะพายกระเป๋าสะพายข้างและความผิดดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อในนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมชั้นปีที่ 4 จำนวน 95 คน ชายจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 13.70 หญิงจำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 86.30 อายุระหว่าง 20-23 ปี จ านวน 67 คน คิดเป็น ร้อยละ 70.53 (อายุเฉลี่ย 21.81 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.67) มีค่าดัชนีมวลกายสมส่วนจำนวน 58 คน คิดเป็น ร้อยละ 61.05 ผลการศึกษาพบว่า การสะพายกระเป๋าสะพายข้างข้างที่ถนัดมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบ โครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.046) เนื่องจากการสะพายกระเป๋าข้างที่ถนัดมาเป็น เวลาระยะหนึ่งแล้ว กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานและกดทับมาเป็นเวลานานจะมีความแข็งแรงน้อยลง จึงทำให้เกิดความ ผิดปกติของโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อขึ้นได้ น้ำหนักกระเป๋ามีความสัมพันธ์กับท่าทางการสะพายกระเป๋าสะพาย ข้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เนื่องจากเมื่อสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากจะทำให้ต้องเอียงตัวไปด้าน ตรงข้ามเพื่อรักษาการทรงตัว จึงทำให้เกิดท่าทางที่มีความเสี่ยง น้ำหนักกระเป๋ามีความสัมพันธ์กับระดับความผิดปกติ ของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เพราะการสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนัก มาก จะทำให้น้ำหนักกระเป๋ากดทับโดยตรงกับกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณที่สะพาย และลักษณะ สายกระเป๋ามีความสัมพันธ์กับระดับความผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) เนื่องจากสายกระเป๋าที่มีลักษณะขนาดเล็กนั้นจะกระจายน้ำหนักได้น้อย ส่งผลให้เกิดการกดรัดกล้ามเนื้อ เพียงจุดเดียวมากเกินไป ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดบริเวณที่สะพายได้ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าน้ำหนักกระเป๋า ลักษณะสายกระเป๋าและการสะพายกระเป๋าข้างที่ถนัด เป็น ปัจจัยสำคัญในการเกิดท่าทางที่มีความเสี่ยงและเกิดความผิดปกติของระบบโครงร่างกระดูกและกล้ามเนื้อ ดังนั้นจึง ควรพิจารณาไม่ควรใช้กระเป๋าสะพายข้างใส่ของต่าง ๆ จนน้ำหนักเกินร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัว ควรเลือกใช้กระเป๋าที่ มีลักษณะสายกระเป๋าที่เป็นสายแบนใหญ่ และควรเลือกสะพายกระเป๋าสะพายข้างในข้างที่ไม่ถนัดหรือสลับข้างสะพาย เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อฝั่งใดฝั่งหนึ่งถูกกดทับมากเกินไป
This experimental research objective was to study effects of bag weight on the carrying side bag postures and the level of musculoskeletal disorders among students of Public and Environmental Health Faculty, Huachiew Chalermprakiet University. The sample group in this research was 4th year students of Public and Environmental Health Faculty. The 95 research subjects were 13 men (13.70%) and 82 women (86.30%), aged between 20-23 years old (average 21.81 years old and SD 0.67), 58 subjects were slender of BMI. The result of the study showed that carrying side bag on hand of aptitude associated with the carrying side bag postures (p = 0.046), the weight of side bag (0%, 5% and 10% of bodyweight) associated with the carrying side bag postures (p < 0.001), the weight of side bag associated with the level of musculoskeletal disorders (p < 0.001) and type of bag strap associated with musculoskeletal disorders (p < 0.001). The result of this analysis showed that the weight of side bag should not more than 5% of bodyweight and should choose the big band of bag strap for prevent musculoskeletal disorders.