Abstract:
การวิจัย เรื่อง การจัดการศึกษาและคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสอนศาสานาอิสลาม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการศึกษากับคุณภาพชีวิตของครูในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูสอนวิชาสามัญและครูสอนศาสนาอิสลามในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 6 แห่ง คือ โรงเรียนจงรักสัตย์วิทยา โรงเรียนเตรียมศึกษาวิทยา โรงเรียนสตรีพัฒนาศึกษา โรงเรียนศานติธรรมวิทยา โรงเรียนปยุคประชารักษ์ โรงเรียนวิทยาอิสลาม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 225 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษาเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (Percent) และตารางไขว้ (Cross Tab) ผลการศึกษามีดังนี้ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.2 เพศชายร้อยละ 33.8 ศาสนาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 92.0 ศาสนาพุทธร้อยละ 8.0 การสอนส่วนใหญ่สอนวิชาศาสนาร้อยละ 57.3 สอนวิชาสามัญร้อยละ 42.7 ตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างร้อยละ 77.3 ข้าราชการร้อยละ 22.7 การจ้างส่วนใหญ่ลูกจ้างประจำร้อยละ 54.7 ลูกจ้างชั่วคราวร้อยละ 25.8 ประสบการณ์สอนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไปร้อยละ 50.7 ต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 34.2 5 ปี ร้อยละ 15.1การจัดการศึกษาของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม พบว่า ภาพรวมของความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยรวม 3.53 ด้านสื่ออุปกรณ์ค่าเฉลี่ยรวม 3.26 ด้านงบประมาณค่าเฉลี่ยรวม 3.08 ด้านบุคคลาค่าเฉลี่ยรวม 3.47คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม พบว่า ภาพรวมของความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามในอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้แก่ รายได้และผลประโยชน์ตอนแทนที่ยุติธรรมเพียงพอค่าเฉลี่ยรวม 3.02 สถานที่ทำงานที่ถูกลักษณะและปลอดภัยค่าเฉลี่ยรวม 3.35 โอกาสพัฒนาขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานค่าเฉลี่ยรวม 3.52 ความก้าวหน้าค่าเฉลี่ยรวม 3.51 ความสัมพันธ์ในหน่วยงานค่าเฉลี่ยรวม 3.89 การบริหารงานที่เป็นธรรมและเสมอภาคค่าเฉลี่ยรวม 3.49 ความสมดุลของช่วงเวลาค่าเฉลี่ยรวม 3.60 ความภูมิใจในองค์กรค่าเฉลี่ยรวม 1.70ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้านการจัดการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านสื่ออุปกรณ์มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านบุคลากรมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ขนาดโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ คือ รัฐบาลจัดสรรครูอัตราจ้างให้เพียงพอ จัดสรรงบประมาณในการจัดการเรียนการสอนจัดแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมภายนอก จัดหางานให้นักเรียนทำยามว่าง จัดสวัสดิการค่าตอบแทนเป็นธรรม จัดรถรับส่งสำหรับการเดินทาง มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลรักษาความปลอดภัยของครูนักเรียนและทรัพย์สินของนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียนปกครองด้วยความเป็นธรรมและควรขยายการศึกษาวิจัยการจัดการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามและคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามในเขตและนอกเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดอื่นที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากขึ้น