DSpace Repository

การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีพฤติกรรมคุณธรรมทางพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author ฐิติวรรณ สุกใส
dc.contributor.author Thitiwan Suksai
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-08-15T12:13:39Z
dc.date.available 2024-08-15T12:13:39Z
dc.date.issued 1998
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2603
dc.description ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541. en
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมคุณธรรมทางศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวและกายถ่ายทอดลักษณะทางพุทธศาสนาจากครอบครัวของเด็กที่มีผลต่อพฤติกรรมคุณธรรมทางศาสนาของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว 3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางศาสนาระหว่างเด็กที่มีพฤติกรรมระดับสูงและระดับต่ำ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยผู้ศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างในโรงเรียน 4 แห่ง รวม 404 คน ได้แก่ โรงเรียนสมุทรปราการ 216 คน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย 92 คน โรงเรียนพลูเจริญวิทยาคม 47 คน โรงเรียนเซนต์โยเซฟบางนา 49 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุซึ่งมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลได้ว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีพฤติกรรมคุณธรรมทางพุทธศาสนา ได้แก่ การถ่ายทอดการปฏิบัติตามแนวพุทธ การเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเอง การถ่ายทอดวิถีชีวิตตามแนวพุทธ โรงเรียนและพ่อแม่ประกอบอาชีพส่วนตัว และจากการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรกับพฤติกรรมคุณธรรมทางศาสนา พบว่า เพศหญิงมีพฤติกรรมสูงกว่าเพศชาย และเป็นนักเรียนโรงเรียนเอกชน คือ โรงเรียนเซนต์โยเซฟ ขณะที่เด็กนักเรียนในโรงเรียนอื่นๆ ในภาครัฐ มีพฤติกรรมคุณธรรมทางศาสนาต่ำกว่า ในส่วนของตัวแปรอิสระกับตัวแปรชีวสังคมมีความสัมพันธ์กันในด้านเพศ อาชีพมารดา และรายได้ต่างกัน จึงทำให้มีการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนต่างกัน การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมจะต่างกันเรื่องเพศ การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลต่างกันเรื่องรายได้ การเลี้ยงดูแบบพึ่งตนเองต่างกันเรื่องรายได้เช่นกัน ส่วนการถ่ายทอดลักษณะทางพุทธ ถ้าพ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดีทางพุทธมากเท่าใด เด็กก็จะได้รับการถ่ายทอดจากบิดามารดามากเท่านั้น จากการศึกษาพบว่า โดยมากเพศหญิงได้รับการถ่ายทอดสูงกว่า เพศชาย ในด้านรายได้ที่มากที่สุดตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป ได้มีส่วนในการถ่ายทอดทางพุทธได้มากกว่า ผู้มีรายได้ต่ำ และเป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนเอกชนผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานเกี่ยวข้องกับทางพุทธศาสนาและครอบครัว ให้มีส่วนร่วมในการอบรมสั่งสอน เผยแพร่พุทธศาสนา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและเด็ก เพื่อส่งเสริมการสร้างสายใยแก่ครอบครัวและสร้างจิตสำนึกทางพุทธศาสนาให้มากขึ้น en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- ไทย -- สมุทรปราการ en
dc.subject High school students -- Thailand -- Samut Prakarn. en
dc.subject การเลี้ยงดูเด็ก en
dc.subject Child rearing en
dc.subject ความดี en
dc.subject Virtue en
dc.subject พุทธศาสนา -- คำสั่งสอน en
dc.subject Buddhism -- Doctrines. en
dc.title การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีพฤติกรรมคุณธรรมทางพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดสมุทรปราการ en
dc.title.alternative Factors Effected Budhist Ethic Behavior of High School Students in Samutprakarn Province en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account