DSpace Repository

แรงจูงใจและการตัดสินใจของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาที่มีผลต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี : ศึกษาเฉพาะกรณี นักเรียนระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง จังหวัดชัยนาท

Show simple item record

dc.contributor.advisor อารีนา เลิศแสนพร
dc.contributor.advisor Areena Lertsaenporn
dc.contributor.author ชานนท์ พวงทรัพย์
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-08-15T12:57:21Z
dc.date.available 2024-08-15T12:57:21Z
dc.date.issued 2008
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2607
dc.description การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551 en
dc.description.abstract การศึกษาแรงจูงใจและการตัดสินใจของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาที่มีผลต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จังหวัดชัยนาท ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) เพื่อรวบรวมเหตุผลที่ใช้ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนอาชีวศึกษาระดับ ป.ว.ส. ปี 2 ในจังหวัดชัยนาท จำนวน 289 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยมีดังนี้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นชายร้อยละ 49.5 เป็นหญิงร้อยละ 50.5 ส่วนใหญ่มีพี่น้อง 1-2 คน คิดเป็นร้อยละ 73.7 เป็นบุตรลำดับที่ 1-2 คน คิดเป็นร้อยละ 85.2 ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง คิดเป็นร้อยละ 24.9 เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 28.8 เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50-3.49 คิดเป็นร้อยละ 58.8 ระดับการศึกษาของบิดาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 45.0 และมารดาจบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 52.7 อาชีพของบิดาและมารดาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรือปศุสัตว์ คิดเป็นร้อยละ 32.9 และร้อยละ 31.5 ตามลำดับ ส่วนใหญ่บิดามีรายได้อยู่ในช่วง 0-8,100 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.9 มารดามีรายได้อยู่ในช่วง 0-7,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 46.0ผลการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาต่อปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.8 คิดว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 49.1 คิดว่าค่าใช้จ่ายโดยประมาณต่อเทอมอยู่ในช่วง 15,000-20,000 บาท และร้อยละ 85.5 ต้องการที่จะศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีผลการศึกษาระดับความคิดเห็นด้านแรงจูงใจในการศึกษาต่อและระดับความเห็นด้านการตัดสินใจในการศึกษาต่อ พบว่า ระดับความเห็นต่อแรงจูงใจด้านครอบครัวอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจด้านความมั่นคงในอาชีพอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และระดับความคิดเห็นด้านการตัดสินใจในการศึกษาต่ออยู่ในระดับเห็นด้วยมากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับแรงจูงใจในการศีกษาต่อและระดับการตัดสินใจในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) กับตัวแปรต่างๆ พบว่า1. แรงจูงใจในด้านครอบครัวกับตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ลำดับการเป็นบุตรจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของมารดา รายได้เฉลี่ยของบิดา รายได้เฉลี่ยของมารดา ความคาดหวังต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ เมื่อสำเร็จการศึกษา2. แรงจูงใจด้านความมั่นคงในอาชีพกับตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ความต้องการเรียนต่อ คะแนนเฉลี่ยสะสม รายได้เฉลี่ยของบิดา รายได้เฉลี่ยของมารดา ความคาดหวังการเพิ่มขึ้นของรายได้ เมื่อสำเร็จการศึกษา3. การตัดสินใจศึกษาต่อกับตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความต้องการเรียนต่อ คะแนนเฉลี่ยสะสม ความคาดหวังต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากผลการวิจัยดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อ รัฐบาลควรมีการสนับสนุนโครงการเรียนฟรีในระดับอุดมศึกษา หรือมีกองทุนกู้ยืมให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ควรจัดตั้งหน่วยงานที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา รัฐควรหามาตรการรองรับ นักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำทุกคน และตรงกับสายงานที่ตัวเองเรียน เพราะจากการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการศึกษาต่อเพราะต้องการอาชีพการงานที่มั่นคง รัฐควรจัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กร ด้านการเพิ่มคุณภาพด้านการศึกษาของเยาวชนในต่างจังหวัด และมีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้ทั่วถึงทุกจังหวัด เพื่อเพิ่มปริมาณคุณภาพของประชาชน และลดภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาของประชาชนสถาบันการศึกษาควรมีหน่วยงานเกี่ยวกับการแนะแนวด้านการศึกษาต่อโดยเพาะ ซึ่งสามารถให้ความรู้ คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษาแก่เด็กนักเรียนได้ มีการจัดหาโควต้าจากสถาบันต่างๆ เพื่อให้เด็กมีทางเลือกที่หลากหลาย มีการประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีของการเรียนต่อ หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเรียนจบ ควรมีการจัดดูงานตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่นักเรียนสถาบันครอบครัวควรให้การสนับสนุนด้านการเรียนแก่นักเรียน และคอยเป็นกำลังใจ หรือคอยกระตุ้นให้นักเรียนมีกำลังใจที่จะศึกษาต่อและประสพความสำเร็จในอนาคต ควรมีการแนะนำในด้านต่างๆ โดยการใช้เหตุผล ปลูกฝังให้ลูกมีการรักเรียนตั้งแต่เด็กคอยตักเตือนลูกๆ ในยามที่ลูกกระทำผิดสำหรับการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาและทำการวิจัยซ้ำ ในเรื่องแรงจูงใจและการตัดสินใจที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและควรเพิ่มตัวแปรอิสระให้มากขึ้น เช่น ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ความนิยมในการเลือกสถานที่เรียน ที่ตั้งของสถาบันการศึกษา ระยะทางในการเดินทางระหว่างที่อยู่อาศัยกับสถาบันการศึกษา และควรมีการศึกษาและทำการวิจัยในเรื่องแรงจูงใจและการตัดสินใจที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี กับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในสถานศึกษาทั่วประเทศทั้งสายสามัญและสายอาชีพ en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject นักเรียนอาชีวศึกษา -- การศึกษาต่อ en
dc.subject Vocational school students -- Education en
dc.subject การศึกษาขั้นอุดมศึกษา en
dc.subject Education, Higher en
dc.subject การตัดสินใจ en
dc.subject Decision making en
dc.subject การจูงใจในการศึกษา en
dc.subject Motivation in education en
dc.title แรงจูงใจและการตัดสินใจของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาที่มีผลต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี : ศึกษาเฉพาะกรณี นักเรียนระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง จังหวัดชัยนาท en
dc.title.alternative Incentive and Decision Making of Vocational Students Effecting the Continuing Study for Bachelor's Degree : A Case Study of Higher Vocational Students in Chainat Provice. en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การบริหารสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account