การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (cross sectional research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฎิบัติตามแนวปฏิบัติสำหรับประชาชนในการจัดการดูแลบ้านเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2109 และเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวระดับการปฏิบัติดูแลบ้านเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนใน 5 พื้นที่ที่อยู่ในจังหวัดที่มีความเสี่ยงของการระบาดกำหนดเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม เก็บตัวอย่างจำนวน 576 คน โดยการใช้แบบสอบถาม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมในบ้าน และด้านการเฝ้าระวังการติดเชื้อระหว่างสมาชิกภายในบ้าน โดยผลตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ (Index of Item-Objective Congruence; IOC) อยู่ระหว่าง 0.9-1.0 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.952 0.723 และ 0.927 ตามลำดับ ทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับการปฏิบัติตามแนวทางจัดการดูแลบ้านเพื่อป้องกันโควิด 19 โดยใช้สถิติ Independent t-test และ Fisher’s Least Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัย พบว่าภาพรวมมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติสำหรับประชาชนในการจัดการดูแลที่พักอาศัยเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคนา 2019 แบบติดเชื้อทั้งครอบครัว อยู่ในระดับมาก (M=4.25, SD = 0.59) โดยด้านการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อมีคะแนนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับด้านการจัดสภาพแวดล้อมในบ้าน และการเฝ้าระวังการติดเชื้อระหว่างบุคคล (M=4.16 4.38 และ 4.28 ตามลำดับ) ปัจจัยที่ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีระดับปฏิบัติตามแนวปฏิบัติสำหรับประชาชนในการจัดการดูแลที่พักอาศัยเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบติดเชื้อทั้งครอบครัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ได้แก่ เพศ อายุ การมีสมาชิกในบ้านออกทำงานนอกบ้านทุกวัน ความถี่ในการทำความสะอาดบ้าน และระดับความร่วมมือของสมาชิกในครัวเรือนเพื่อป้องกันเชื้อ
This cross sectional research aims to study the implementation of guidelines for people in managing home care for the prevention of coronavirus 2019 and to compare personal and family factors with the level of Practice home care to prevent the spread of coronavirus disease 2019. The samples were residents of 5 areas in provinces at risk of pandemic, designated as the dark red areas. There were 576 samples. The research instrument was a questionnaire in 3 items; cleaning and disinfection. The arrangement of the environment in the home and surveillance of infection among members of the household. The results of the content validity check resulted in the index of Item-Objective Congruence (IOC) between 0.9-1.0 and the Cronbach Alpha Coefficient equals 0.952, 0.723 and 0.927, respectively. The test for differences between personal factors was based on Independent t-test and Fisher’s Least Significant Difference (LSD) statistics.
The results revealed that the overall practice of the guidelines for people in housing management to prevent the spread of the novel coronavirus disease 2019 was at a high level (M=4.25, SD = 0.59) and disinfection had the lowest score compared to the home environment and interpersonal surveillance (M=4.16, 4.38 and 4.28, respectively). Factors affecting the level of the sample group to have a statistically significant difference in the level of compliance with the guidelines for people in housing management for the prevention of corona virus 2019 (p-value < 0.05) as follows: gender, age, having members of the family working outside the home every day house cleaning frequency and the level of cooperation of household members to prevent infection.