จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มีสถิติในการเกิดอุบัติเหตุสูง จึงเป็นที่มาของการทำงานวิจัยในครั้งนี้ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Researc : PAR) เพื่อหารูปในการลดอุบัติเหตุจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่างในบริษัทแห่งหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน และ 2. เพื่อสร้างต้นแบบในการอธิบายการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน โดยทำการศึกษาในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2557 ทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานเพื่อหากรอบแนวคิดจนได้รูปแบบและมาตรการในการลดอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นการศึกษาการลดอุบัติเหตุจากการทำงาน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการทำกิจกรรมสนทนากลุ่มของพนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในแผนกที่มีการเกิดอุบัติเหตุ มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 9 ราย และการสนทนากลุ่มมีผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน จำนวน 12 คน จากผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นเพศชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานระดับผู้จัดการ ระดับหัวหน้างาน ระดับพนักงาน ผลการวิจัยของการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า 1) ก่อนเกิดอุบัติเหตุ พนักงานจะได้รับการอบรมในเรื่องของความปลอดภัยก่อนจากหน่วยงานความปลอดภัย แต่ในการอบรมของฝ่ายผลิตนั้นไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน แต่ละครั้งใช้เวลาอบรมประมาณ 10-30 นาที บางแผนกใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมง ทำให้พนักงานได้รับมูลขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยไม่เท่ากัน 2) ขณะเกิดอุบัติเหตุพนักงานมีความเข้าใจถึงขั้นตอนการรายงานเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการทำงาน และเข้าใจขั้นตอนปฏิบัติต่อพนักงานที่ได้รับอุบัติเหตุ 3) หลักการเกิดอุบัติเหตุมีการดำเนินการประชุมตามวิธีการแก้ไขปรับปรุง แต่ไม่มีระบบการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อแจ้งข่าวอุบัติเหตุ ไม่มีติดป้ายเตือนที่สม่ำเสมอในทุกจุดที่อันตราย ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม โดยนำมาตรการที่กำหนดร่วมกันในการลดอุบัติเหตุ ได้แก่ อบรมวิธีการทำงาน ทำตามกฎระเบียบความปลอดภัย ควบคุมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงาน มีผลทำให้อุบัติเหตุลดลงทั้ง 3 แผนกในช่วงที่ศึกษา สำหรับงานวิจัยในอนาคตควรมีการพัฒนาโดยทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อทดสอบรูปแบบที่ได้จากงานวิจัยในกลุ่มตัวอย่างอื่น
According to statistics of work accident in the Auto-part factory, which was presented in high level. This study was applied the qualitative research and aimed to find the appropriates model for accident reduction. Therefore, the objective of this study were 1) to determine the relevant factors related to accident, and 2) to create the completed model which can explain the occurrence of accident. The data collection was conducted from May to August, 2015. The Participatory Action Research (PAR), and the methods of in-depth interview, and the focus group were applied in this research. The subjects of in-depth interview were composed of 9 workers. The focus groups were composed of 3 groups, each group was composed of 4 workers and all of the subjects were 12 male workers. The result of in-depth interview was separated into 3 parts by the duration of accident. In part 1: before accident, the workers mentioned that they got safety knowledge from the training of safety section, however, the training of the production section was not conducted format period. Some process was set up for 30 minutes and some was about 1 hour. Therefore, the workers might gain unequally of safety knowledge. In part 2: during accident, all of the workers understood well in accident report and the system of accident report. In part 3: After accident, the workers mentioned that their staffs usually set up the meeting for accident investigation and find the appropriated counter-measure of accident prevention. However, the information of accident and accident prevention were not broadly announced to all workers. In addition, the warning sign or counter-measure of accident was not presented systematically. Due to the result of in-depth interview and focus group, the appropriated model of accident reduction was included the formal safety training program from both safety section and production, compliance of safety regulations, and personal protective equipment control. The model of accident reduction was practiced and followed the results during the study period. The findings showed that it can reduce accident in all three sections. For further study, the appropriated model of accident reduction should be implied and determined the effectiveness of this model into the various factories or another subject groups.