DSpace Repository

คุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหารในธุรกิจภาคการบริการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวนิจ นิจอนันตชัย
dc.contributor.advisor Saowanit Nitananchai
dc.contributor.author ณัฏฐ์ปนิตา สีบุญเรือง
dc.contributor.author Natpanita Sibunruang
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-09-05T14:55:15Z
dc.date.available 2024-09-05T14:55:15Z
dc.date.issued 2004
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2757
dc.description ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2547 en
dc.description.abstract การศึกษานี้ เป็นการศึกษาคุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหารในธุรกิจภาคการบริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้หญิงในระดับผู้บริหารในสายงานด้านธุรกิจภาคงานบริการ จำนวน 8 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้หญิงที่มีบทบาทการเป็นผู้นำในระดับผู้บริหารผลการศึกษา พบว่า ผู้หญิงในระดับผู้บริหาร มีอายุเฉลี่ย 34 ปี ทุกคนมีสถานภาพสมรส สามีมีอายุเฉลี่ย 38 ปี อายุห่างระหว่างสามีภรรยามากที่สุด คือ 10 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีถึงปริญญาโท การศึกษาของสามี อนุปริญญาโท จำนวนบุตร 0-3 คน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบทบาทการเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหาร ได้แก่ ปัจจัยครอบครัว และคู่สมรส และปัจจัยทางสังคมผลการศึกษาปัจจัยครอบครัวและคู่สมรส ได้แก่ 1) การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว พบว่ามาจากครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด อบอุ่นและรักใคร่กัน การอบรมเลี้ยงดูมีลักษณะของการช่วยเหลือตนเอง สอนให้รู้จักคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง แต่ไม่ทิ้งความสัมพันธ์ในลักษณะของการปรึกษาหารือ ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีความเป็นตัวของตัวเองสูงในทุกเรื่อง และให้ความสำคัญกับตนเองเป็นสำคัญ 2) การศึกษาและประสบการณ์การทำงานของคู่สมรส ประสบการณ์ และความรู้ของสามี มีส่วนน้อยในการผลักดันการทำงานของภรรยา เนื่องมาจากระดับการศึกษาที่ไม่ต่างกันน และลักษณะของการทำงานที่ไม่เหมือนกัน 3) ทัศนคติต่อการทำงานของคู่สมรสสามีมีส่วนในเรื่องของการทำงานของภรรยาน้อยมาก ในด้านความคิด การตัดสินใจยังคงขึ้นอยู่กับภรรยาเป็นส่วนใหญ่ สามีจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาตามโอกาสเท่านั้น 4) ทัศนคติต่อการทำงานของครอบครัว ครอบครัวจะไม่มีอิทธิพลในการตัดสินใจในเรื่องหน้าที่การงาน ตำแหน่งงาน ตลอดจนเรื่องอื่นๆ 5) บทบาทภายในครอบครัว ในที่นี้ หมายถึง กิจกรรม หรือสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างได้รับเมื่อครั้งอยู่กับครอบครัวของตนเองเป็นชีวิตก่อนการสมรส พบว่า บทบาทที่ได้รับมากที่สุด คือ การถูกปลูกฝังในเรื่องของการทำงานบ้าน 6) การแบ่งงานในครัวเรือนระหว่างสามีภรรยาในครอบครัวปัจจุบัน พบว่า เป็นไปอย่างพี่งพากัน โดยส่วนใหญ่สามีมีบทบาทอย่างมากในการให้ความข่วยเหลือในเรื่องการทำงานบ้านแก่ภรรยาที่ไม่มีเวลา 7) อำนาจการตัดสินใจในชีวิตสมรส ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับภรรยา สามีเป็นเพียงที่ปรึกษาในบางกรณีเท่านั้นปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหาร พบว่า ต้องได้รับแรงผลักดันทั้งจากองค์กร และการยอมรับจากสังคม โดยต้องอาศัยสื่อมวลชนเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญ และมีอิทธิพลมากที่สุดที่จะเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องสิทธิของสตรี ทำหน้าที่ในการนำเสนอบทบาท ความสามารถของผู้หญิง ให้สังคมได้ตระหนักว่า ผู้หญิงก็มีความสามารถทัดเทียมกับชาย สามารถอยู่ในตำแหน่งงานในระดับผู้นำได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการทำงานของผู้หญิง เป็นเรื่องที่กลุ่มตัวอย่างต้องการให้สื่อมวลชนนำเสนอมากที่สุด รองลงมา คือ เรื่องของความคิดและสิทธิที่ผู้หญิงพึงได้รับเท่าเทียมกับผู้ชายลักษระของผู้หญิงที่มีบทบาทการเป็นผู้นำในระดับผู้บริหาร ได้แก่ การมีลักษณะการเป็นผู้นำในระดับผู้บริหาร ได้แก่ การมีลักษณะการเป็นผู้นำตามทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ โดยเฉพาะมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับสูง มีความรู้ ความสามารถเชี่ยวชาญในงานที่ตนทำ โดยเฉพาะความสามารถในการบริหารทั้งงานในบ้านและนอกบ้าน มีลักษณะด้านกายภาพที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของการเป็นผู้นำ ลักษณะพฤติกรรมของผู้นำหญิงในระดับผู้บริหารกลุ่มนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก จะมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อตนเอง มีแรงผลักดันและมุ่งความสำเร็จเพื่อตัวเอง การแสดงออกของพฤติกรรมมีลักษณะ การออกคำสั่ง เอาแต่ใจ ถือการตัดสินใจของตนเป็นใหญ่ หากมีใครขัดจะเกิดปัญหาทันที จะแสดงออกทั้งในหน้าที่การงานและครอบครัว กลุ่มที่สอง จะแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับกลุ่มแรกในเรื่องของความคิด แต่ยังคงบุคลิกภาพที่มั่นใจในตนเองอยู่ กล่าวคือ คนกลุ่มนี้จะถือคติเอาใจเขามาใส่ใจเรา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดติดเฉพาะตนเอง ด้านแรงจูงใจ สำหรับผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหาร ได้แก่ ตนเอง ครอบครัว สามี บุคคลใกล้ชิด และอื่นๆ ข้อเสนอแนะ จากการศึกษา คือ 1) สื่อมวลชน ควรนำเสนอบทบาทของผู้หญิงในด้านความรู้ ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ในสังคมให้มากขึ้น และลดการนำเสนอภาพลักษณ์ในทางลบของผู้หญิง 2) การนำเสนอข่าวสารที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของผู้หญิงไม่ควรส่งเสริมในฐานะวัตถุทางการค้า 3) รัฐควรตระหนักถึงความสำคัญของผู้หญิง โดยควรยืดกฎหมายรองรับสิทธิของผู้หญิงให้มากกว่าที่มีอยู่ 4) สังคมควรให้โอกาส ยอมรับ เชิดชูความรู้ความสามารถของผู้หญิงโดยเริ่มจากผู้หญิงเก่งในครอบครัว องค์กร ชุมชน จนถึงในระดับประเทศ 5) พ่อแม่ ควรมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ดีในบทบาทของลูกที่เป็นหญิง ด้วยการยอมรับและให้การส่งเสริมลูกสาวให้เท่าเทียมกับลูกชาย 6) ในครอบครัวควรเสนอความคิดและทัศนคติที่ดีให้กับลูกชายให้ยอมรับในความสามารถของผู้หญิง ซึ่งถือเป็นบันไดขั้นแรกในการให้ผู้ชายยอมรับในสิทธิของผู้หญิงมากขึ้น en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject ภาวะผู้นำของสตรี en
dc.subject Leadership in women en
dc.subject นักธุรกิจสตรี en
dc.subject Businesswomen en
dc.subject บุคลิกภาพ en
dc.subject Personality en
dc.subject การสนับสนุนทางสังคม en
dc.subject Social support en
dc.title คุณลักษณะความเป็นผู้นำของผู้หญิงในระดับผู้บริหารในธุรกิจภาคการบริการ en
dc.title.alternative Leadership Characteristics of Female Executive in Service Work en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การบริหารสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account