DSpace Repository

การเตรียมความพร้อมของผู้ต้องขังสูงอายุก่อนพ้นโทษ :กรณีศึกษาเรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author ณัฐวิชย์ ยันตะนะ
dc.contributor.author Natvit Yantana
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-09-06T12:25:08Z
dc.date.available 2024-09-06T12:25:08Z
dc.date.issued 2002
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2761
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2545 en
dc.description.abstract การศึกษา เรื่อง “การเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังสูงอายุก่อนพ้นโทษ : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลาง พระนครศรีอยุธยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของผู้ต้องขังสูงอายุ ศึกษาความคิดเห็นของผู้ต้องขังสูงอายุ เจ้าหน้าที่ ครอบครัว เพื่อนบ้าน เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนกลับเข้าสู่สังคมภายนอก และศึกษาการเตรียมความพร้อมของเรือนจำการศึกษาครั้งนี้ใช้การศึกษาจากข้อมูลเอกสาร ผลงานวิจัย และวรรณกรรมต่างๆ และการวิจัยภาคสนาม โดยใช้การเก็บข้อมูลกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา คือ ผู้ต้องขังสูงอายุชายในเรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา โดยเป็นผู้มีภูมิลำเนาก่อนต้องโทษในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 ราย ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาเป็นรายบุคคล ใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสังเกตและการเยี่ยมบ้าน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาเป็นรายบุคคล และสรุปข้อมูลในรูปแบบตารางผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ต้องขังสูงอายุมีอายุระหว่าง 60-68 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง คดีที่ทำผิดส่วนใหญ่ คือ คดีพระราชบัญญัติยาเสพติด (ยาบ้า) ได้รับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.ว.ส.) ส่วนใหญ่มีการสมรสมากกว่าหนึ่งครั้ง ฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวยากจนถึงปานกลาง ส่วนใหญ่ขณะต้องโทษอยู่ในเรือนนจำได้รับการเยี่ยมเยียน 1-2 เดือนต่อครั้ง ส่วนการติดต่อญาติด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ค่อยมีการติดต่อกัน สำหรับการเตรียมความพร้อมของทางเรือนจำ มีการได้รับการเตรียมความพร้อมทางด้านการศึกษาธรรมะ การเรียนรู้ศีลธรรม มีจำนวน 1 ราย และส่วนใหญ่จะเป้นการได้รับการเตรียมทางด้านร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย เป็นต้น ส่วนการเตรียมความพร้อมทางด้านการสังคมสงเคราะห์ การฝึกอาชีพและวิธีการทางจิตวิทยาไม่มีการได้รับการเตรียมความพร้อมจากทางเรือนจำส่วนทางด้านการยอมรับของครอบครัวและเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้องนั้น จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าส่วนใหญ่มีการยอมรับการกลับมาอยู่ที่ครอบครัวหรือชุมชน เป็นที่น่าพอใจ มีเพียง 2 ครอบครัวที่ญาติผู้ต้องขังสูงอายุจะกลับไปอยู่ด้วยเป็นเพียงญาติพี่น้องเท่านั้น ไม่ใช่ครอบครัวที่ตนเองเคยอยู่ เนื่องจากครอบครัวที่ตนเองเคยอยู่ ลูกๆ ของผู้ต้องขังติดคุก และส่วนภรรยาได้เสียชีวิตหนึ่งราย ส่วนอีกหนึ่งรายภรรยาได้มีครอบครัวใหม่ผู้ศึกษาได้เสนอให้มีการเตรียมความพร้อมกับผู้ต้องขังสูงอายุของเรือนจำ เพื่อให้เรือนจำเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ต้องขังสูงอายุให้ได้การเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลถึงการกลับไปใช้ชีวิตในสังคมปกติ โดยที่ไม่หันกลับมาก่ออาชญากรรมหรือสร้างความเดือนร้อนให้กับสังคม รวมทั้งการร่วมมือกับครอบครัว ชุมชน และองค์กรต่างๆ ที่จะมาช่วยเหลือในเรื่องของผู้ต้องขังสูงอายุในการปรับตัวกลับออกไปใช้ชีวิตในสังคมปกติโดยไม่ก่อปัญหาตามมาทีหลัง en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject นักโทษสูงอายุ en
dc.subject Older prisoners en
dc.subject การเตรียมพร้อม en
dc.subject Preparedness en
dc.subject การปรับพฤติกรรม en
dc.subject Behavior modification en
dc.subject เรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา en
dc.title การเตรียมความพร้อมของผู้ต้องขังสูงอายุก่อนพ้นโทษ :กรณีศึกษาเรือนจำกลางพระนครศรีอยุธยา en
dc.title.alternative Preparation for Aging Prisoners before Release : A Study of Aging Prisoners in Ayudhya Prison en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account