ความพึงพอใจในด้านสวัสดิการ: กรณีศึกษาเทสโก้โลตัส ซุปเปอร์มาร์เก็ตพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานเทสโก้โลตัสซุปเปอร์มาร์เก็ต 2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้สวัสดิการของพนักงานเทสโก้โลตัสซุปเปอร์มาร์เก็ต และความพึงพอใจต่อสวัสดิการของพนักงานเทสโก้โลตัสซุปเปอร์มาร์เก็ต 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับระดับการรับรู้สวัสดิการ และความพึงพอใจต่อสวัสดิการของพนักงานเทสโก้โลตัสซุปเปอร์มาร์เก็ตผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ด้านสวัสดิการในระดับมาก ส่วนสวัสดิการที่พนักงานพึงพอใจสูงสุดคือ การตรวจสุขภาพประจำปี ส่วนสวัสดิการที่พนักงานต้องการเพิ่มเติม ได้แก่ เงินช่วยเหลือในการครองชีพ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการที่ได้รับของพนักงานเทสโก้โลตัสซุปเปอร์มาร์เก็ต พบว่า พนักงานมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สวัสดิการด้านเศรษฐกิจมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าการจ่ายค่าตอบแทนในการทำงานล่วงเวลา มีความพึงพอใจสูงที่สุด รองลงมา คือ โบนัส เงินเดือน เงินปรับเลื่อนตำแหน่ง และการให้ความช่วยเหลือค่าครองชีพตามลำดับ ในด้านสวัสดิการความมั่นคงปลอดภัยมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การมีเครื่องมือที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานสร้างความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือ การมีการจัดกองทุน การรักษาความปลอดภัยเข้าออก การมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอาคาร มีการตรวจสอบสัญญาณเตือนไฟไหม้และอุปกรณ์ดับเพลิงให้ใช้งานได้อยู่เป็นประจำ การซ้อมหนีไฟตามลำดับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ทางประชากรศาสตร์ คือ อายุ สถานภาพ การศึกษา รายได้ และอายุงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในสวัสดิการ และการรับรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารของเทสโก้โลตัส ซุปเปอร์มาร์เก็ตพื้นที่กรุงเทพมหานครควรปรับปรุงการให้เงินช่วยเหลือค่าครองชีพแก่พนักงานให้มากขึ้นกว่าเดิม และควรชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับสวัสดิการในกลุ่มพนักงานที่มีการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า และที่มีอายุงานต่ำกว่า 3 ปี ต้องชี้แจงอย่างเข้มข้น เพราะพนักงานส่วนใหญ่ในกลุ่มดังกล่าวมีการรับรู้เรื่องสวัสดิการในระดับปานกลางเท่านั้น
Welfare Satisfaction : A Case Study of Tesco Lotus Supermarket in Bangkok Area is a quantitative research conducted with the following objectives: (1) To study the personalities of the employees, (2) To study the welfare awareness and satisfaction of the employees, and (3) To study the relationship of employees’ personalities and welfare satisfaction.It can be derived from the research that significant proportion of the survey samples have a high welfare awareness level. The study also showed that the employees found the annual medical check-up the most satisfied welfare whereas the cost-of-living allowance is considered inadequate. The study showed that the over-time allowance is the most satisfied welfare followed by bonus, salary, position allowance and cost-of-living allowance respectively. The employees have moderate satisfaction on safety welfare, which are in the order of appropriate tools for working, fund management, a security for entering in and out of the working premise, an inspection of the premise, an inspection to ensure that fire alarms and related equipment are in good condition and a fire evacuation drill, respectively, in the order of high level to low level of satisfaction.The analysis of factors’ relationship finds that the demography, such as: ages, status, education level, income and working term are all related to welfare satisfaction and welfare awareness with the level of statistical significant at 0.05.The researcher suggests that Tesco Lotus Supermarket Board of Management should make some improvement by increasing a cost-of-living allowance. Moreover, the Board should encourage the better understanding of welfare among the employee in particular those who have the education level of secondary school or 9 Grade or the equivalence and those who have been working less than 3 years. This is due to the fact that these two group of employees only have moderate level of welfare awareness.