วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์มุมระหว่างแขนและขา มุมระหว่างลําตัวและขาของการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตาม และเปรียบเทียบระหว่างขณะปลายเท้าพ้นแท่นกระโดด ขณะลอยตัวสูงสุด และขณะเมือสัมผัสน้ำ วิธีดําเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬา ว่ายน้ำ เพศชาย อายุระหว่าง 18-25 ปี จํานวนทั้งหมด 11 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละคนทําการกระโดดน้ำแบบเท้านำเท้าตาม จํานวน 10 ครั้ง ด้วยความเร็วในการกระโดดออกตัวสูงสุด ทําาการติด Marker จํานวน 4 จุด คือบริเวณ Vertex of the skull, Tip of left middle finger, Tip of left iliac crest และ Head of left fifth metatarsal วิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ โดยใช้กล้องความเร็วสูงจําานวน 7ตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมวิเคราะห์การเคลื่อนไหว นําค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการกระโดดน้ําาครั้งที่กระโดดระยะใกล้ที่สุด และระยะไกลที่สุด มาวิเคราะห์ วิเคราะห์มุมระหว่างแขนและขา และมุมระหว่างลําตัวและขาโดยเปรียบเทียบช่วงการลอยตัวระหว่าง ขณะปลายเท้าพ้นแท่นกระโดด ขณะลอยตัวสูงสุด และขณะมือสัมผัสน้ำ โดยใช้สถิติ One-way ANOVA และ Friedman Test และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยใช้ Bonferroni Test กําาหนดระดับนัยสําคัญที่ p ≤ 0.05 ผลการวิจัย พบว่ามุมระหว่างแขนและขา เมื่อเปรียบเทียบระหว่างขณะปลายเท้าพ้นแท่นกระโดด ขณะลอยตัวสูงสุด และขณะมือสัมผัสน้ำ ของการกระโดดน้ำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แบบเท้านําเท้าตามทั้งสองระยะทาง ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําาคัญของมุมระหว่างลําตัวและขา สรุปผลการวิจัย การกระโดดน้ำแบบเท้านําเท้าตามทั้งระยะใกล้ที่สุด และระยะไกลที่สุดมีลักษณะการเคลื่อนไหวที่คล้ายกันคือมีการเพิ่มขึ้นของมุมระหว่างแขนและขาขณะปลายเท้าพ้นแท่นกระโดด ขณะลอย ตัวสูงสุด และขณะมือสัมผัสน้ำ
Purpose: The purpose of this study was to analyze and compare the angles between arm and leg, between trunk and leg of swimming track start, and during toe off, highest fly, and during hand touch the water.Methods: Eleven male swimmers, aged between 18-25 years, were recruited for this study. Each swimmer performed the track swimming start test 10 times with a maximum jumping start speed. Four markers were placed at vertex of the skull and the left side of the tip of middle finger, the top of iliac crest and the head of the fifth metatarsal. The jumping performance was captured by using 3-dimen-sion motion analysis with seven high speed cameras. Only the farthest and nearest jumping distance trials were chosen for analyses. The jumping distance, the angle between arm and leg, and between trunk and leg were analyzed and compared during toe off, highest fly and during hand touch the water. Data were presented as means and standard deviation. One-way ANOVA and Friedman Test followed by Bonferroni post hoc test were used to compare differences between each event. A p-value<0.05 was considered statistically significant. Results: The results found that only the angle between arm and leg was signifi-cantly increased both at the farthest and the nearest jumping distance when compared during toe off, highest fly, and during hand touch the water. In contrast, there was non-significant difference in the angle between the trunk and leg during toe off, highest fly, and during hand touch the water. Conclusion: A track start both in long and short distance showed similar pattern of arm movements, with similar increases in the angle between arm and leg during a flying phase.