งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของการเดินในผู้ปุวยเด็กสมองพิการ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยยเด็กสมองพิการที่รับการรักษาและฟื้นฟูที่มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ) เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและการทดสอบความสามารถของการเดิน 1-minute walk test ซึ่งมีค่าความเที่ยงสูง (intraclass correlation coefficient = 0.86 –0.96) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน อายุระหว่าง 8 –14 ปี มีความสามารถด้านการเคลื่อนไหว (Gross Motor Function Classification System: GMFCS) อยู่ในระดับ II และ III ผลการทดสอบความสามารถของการเดินด้วย 1-minute walk test พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างเดินได้ระยะทางค่าเฉลี่ย 55.71 เมตร กลุ่มตัวอย่างที่เดินได้ระยะทางไกลที่สุดเท่ากับ 86 เมตรและมีความสามารถด้านการเคลื่อนไหว (GMFCS) ระดับ II ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่เดินได้ระยะทางใกล้ที่สุดเท่ากับ 32 เมตรและมีความสามารถด้านการเคลื่อนไหว (GMFCS) ระดับ III ผลการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อผู้ปกครองและผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กสมองพิการในการทราบความสามารถของการเดินและเป็นประโยชน์ต่อมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการสำหรับใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมและจัดสิ่งแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกต่อการทำกิจวัตรประจำวันตามความสามารถของผู้ป่วย
The objective of this study was to determine walking ability in children with cerebral palsy. This study was a survey research using purposive sampling technique. Forty participants were cerebral palsy receiving treatment and rehabilitation program in Foundation of the Welfare of the Crippled under the Royal Patronage of Her Royal Highness the Princess Mother. Research instruments included demographic data record and 1-minute walk test. 1-minute walk test is a high validity tool (intraclass correlation coefficient = 0.86 –0.96). Results showed that all participants (age range 8 –14 years) had gross motor function classification system (GMFCS) level II and III. An average walking distance was 55.71 meters. The longest distance was 86 meters and was classified as GMFCS level II. The shortest distance was 32 meters and was classified as GMFCS level III. The results of this study might be useful for parents and caregivers of children with cerebral palsy in knowing theability of walking. It should be also useful for the foundation in order to plan activities and organize an environment to facilitate activity of daily living according to their performance.