ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทำให้ร่างกายมีความเสื่อมถอย ส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรม รวมถึงการเข้าร่วมปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทรงตัว ความมั่นใจในการทรงตัว และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง อาสาสมัครคือผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบการทรงตัวขณะอยู่นิ่ง single leg stance และแบบทดสอบการทรงตัวขณะเคลื่อนไหว (Timed Up and Go test) แบบประเมินความมั่นใจในการทรงตัว (Activities-specific and Balance Confidence scale) ฉบับภาษาไทย และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (EQ-5D-5L) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครทั้งหมด 377 คนเป็นเพศหญิง 247 คนและเพศชาย 130 คน อายุเฉลี่ย 68.60 ± 6.64 ปี ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 24.11 ± 3.99 กิโลกรัมต่อตารางเมตร อาสาสมัครส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวคือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ผลการทดสอบความสามารถในการทรงตัวพบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและหญิงมีปัญหาการทรงตัวทั้งขณะอยู่นิ่งและขณะเคลื่อนไหว ผลการศึกษาความมั่นใจในการทรงตัวพบว่าอาสาสมัครมีความมั่นใจในการทรงตัวขณะกวาดพื้นมากที่สุด ในขณะที่มีความมั่นใจในการทรงตัวน้อยที่สุดขณะก้าวขึ้นหรือลงบันไดเลื่อนจนไม่สามารถจับราวบันไดได้ และผลการศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพพบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาหัวข้อการเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง การทำกิจกรรมที่ทำเป็นประจำและด้านความวิตกกังวลหรือความซึมเศร้า ในขณะที่อาสาสมัครส่วนใหญ่มีปัญหาเล็กน้อยด้านอาการเจ็บปวดหรืออาการไม่สบายตัว การศึกษานี้มีประโยชน์ต่อบุคลากรทางสาธารณสุขในการวางแผนนโยบายและแผนการให้การจัดการการฟื้นฟู รวมถึงการจัดกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมทางสังคม รวมถึงกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพทางกายที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละชุมชน
An elderly person experiences changes in physiology, causing degenerative physical changes that affect their activities in terms of daily living or social participation. An objective of this study was to determine balance ability, balance confidence, and the health-related quality of life among the elderly in a community in Chai Badan district, Lop Buri province. This study was a cross-sectional research using purposive sampling. All of the participants were elderly people in a community in Chai Badan district, Lop Buri province. The research instruments included a demographic data questionnaire, a single leg stance test for static balance, a Timed Up and Go test for dynamic balance, an Activities-Specific and Balance Confidence scale (Thai version), and EQ-5D-5L (Thai version) and were analyzed using descriptive statistics. The results found that the participants consisted of 377 people, with 247 females and 130 males. The mean age was 68.60 ± 6.64 years old and the mean body mass index (BMI) was 24.11 ± 3.99 kg/m2. The majority of the participants had underlying diseases, namely hypertension and diabetes mellitus. According to the results, the balance ability results revealed that the majority of males and females had static and dynamic balance problems. The balance confidence test results revealed that participants had the most confidence when sweeping the floor and the least confidence on an escalator without holding the handrail. Regarding EQ-5D-5L, the results also found that the majority of the participants had no problems with the topics of mobility, self-care, usual activities, and anxiety/depression, whereas they had slight problems regarding the topic of pain/discomfort. This research study may be useful for public health personnel in planning policies and rehabilitation management, as well as organizing recreational activities, social activities, and activities promoting physical health in accordance with the context of each community.