การวิจัยในครั้งนี้ศึกษาผลของรองเท้าสุขภาพต้นแบบที่มีผลต่อความสามารถของเท้าและข้อเท้าในเท้าลักษณะต่าง ๆ ของอาสาสมัครที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อาสาสมัครจำนวน 44 ราย อายุ 18 – 60 ปี (ค่าเฉลี่ย 20.59 ± 1.66 ปี) แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเท้าแบน เท้าปกติและเท้าโก่ง ทำการประเมิน foot and ankle ability measure (FAAM) ฉบับภาษาไทย ก่อนและหลังการใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพต้นแบบอย่างต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าการสวมใส่รองเท้าสุขภาพต้นแบบในอาสาสมัครกลุ่มเท้าแบน, เท้าปกติและเท้าโก่ง สามารถเพิ่มFAAM ในการทำกิจวัตรประจาวันทั้งในกลุ่มเท้าปกติและเท้าโก่งได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003 และ p=0.025 ตามลำดับ) และยังเพิ่ม FAAM ในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเล่นกีฬาในกลุ่มเท้าปกติ และเท้าโก่งได้อีกด้วย (p=0.001 และ p=0.012 ตามลำดับ) สรุปผลการศึกษา การสวมใส่รองเท้าสุขภาพต้นแบบอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 สัปดาห์ในอาสาสมัครเท้าลักษณะต่าง ๆ สามารถเพิ่มความสามารถในการทำงานของเท้าและข้อเท้าทั้งในการทำกิจวัตรประจำวันและในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเล่นกีฬา
To investigate the effect of healthy prototype shoes on various arch of foot types in people aged between 18-60 years old in Bang phli district, Samut Prakan province. Forty-four aged between 18-60 years old (average 20.59±1.66 years old). Participants were divided into three groups: flat foot, normal foot, and high arch. The Thai version of the Foot and Ankle ability measure (FAAM) were assessed before and after 4 weeks of wearing healthy prototype shoes. The result showed that after wearing healthy prototype shoes for 4 weeks, the statistically significantly improved in FAAM (daily activities) in both normal and high arch groups (p=0.003 and p=0.025, respectively. In addition, FAAM (sport) was increase in normal and high arch groups (p=0.001 and p= 0.012, respectively). Continuous wearing healthy prototype shoes for 4 weeks in various arch of foot types were able to increase foot and ankle ability measure in ADL and sport domains.