การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับภาวะหมดไฟจากการเรียนของนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัด สมุทรปราการ จำนวน 172 คน มีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบลำดับชั้น ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูล ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนรูปแบบออนไลน์ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน ปัจจัยด้านภาระการเรียน ปัจจัยด้านภาวะทางจิตสังคม และข้อมูลเกี่ยวกับระดับภาวะหมดไฟในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi Square) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.0 ช่วงอายุ ≤20 ปี ร้อยละ 66.3 กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 41.3 กำลังศึกษาอยู่สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ร้อยละ 35.5 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 88.4 จำนวนชั่วโมงในการนอนหลับพักผ่อน < 8 ชั่วโมง ร้อยละ 73.3 และ เมื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับภาวะหมดไฟจากการเรียนของนักศึกษา พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ภาระการเรียน และสภาพแวดล้อมในการเรียนมีความสัมพันธ์กับระดับภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำรูปแบบเพื่อป้องกันและลดการเกิดปัญหาภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนสอนในระดับอุดมศึกษาต่อไป
This research was a cross-sectional descriptive study aimed to study factors related to the level of burnout from learning among students among of the faculty of public health in private university in Samut prakarn province. 172 people were stratified random sampling. Data collection was done by questionnaires consisting of characteristic factors, Online learning environment factors, On-site learning environment factors, study loading factors, psychosocial factors and burnouts in studying level. Data were analyzed using descriptive statistics, including percentage, mean, and standard deviation. The inferential statistics were analyzed by using Chi-square statistics at the significance level of 0.05. The results revealed that sample had were female (89.0%) had age ≤20 years old (66.3%) had to studying in the second year (41.3%) had studying in the field of occupational health and safety (35.5%) doesn’t had congenital disease (88.4%) had number of hours of sleep < 8 hours/day (73.3%). When test of relationship between factor to related burnout from learning showed that characteristic factor Studying load factor and environmental factors in classes were associated with burnout from study level were statistically significant at p-value < 0.05. This finding suggest that institutions of higher education should be used for develop a model to prevent and reduce burnout in student learning and improve the quality of teaching and learning at higher education levels.