วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วัสดุและวิธีการ:การศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2,3 และ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 1ปี การศึกษา 2563จ านวน 450คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามออนไลน์ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุน และความเครียดในการเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผล: ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 35.8 เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 -3.00 ร้อยละ 47.6 อาศัยอยู่ในเขตเมือง ร้อยละ 55.8 ลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นทาวเฮ้าส์/บ้านเดี่ยวค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการออนไลน์จากเครือข่าย 399 -699 บาท/เดือนร้อยละ 39.8 อุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์เป็นสมาร์ทโฟน ร้อยละ 32.5 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมขณะเรียนในการเรียนออนไลน์จำแนกเป็น ด้านเสียง ด้านความร้อน และอุปสรรคของการสื่อสารออนไลน์จำแนกเป็น ด้านความล่าช้าของการรับส่งข้อมูล ด้านความเสถียรของคลื่นหรืออินเทอร์เน็ตของเครือข่าย มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติสำหรับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ชั้นปีเกรดเฉลี่ยสะสมที่ตั้งของที่อยู่อาศัยลักษณะของที่อยู่อาศัยค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการออนไลน์จากเครือข่ายและอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์ สรุป: สิ่งแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ และอุปสรรคของการสื่อสารออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์ ปัจจัยเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ หากนักศึกษาได้รับการปฐมนิเทศ คำแนะนำ และการสนับสนุนจากครอบครัวเช่น การจัดสถานที่เรียนที่เงียบสงบ อุณหภูมิภายในห้องเรียนเหมาะสม มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายที่แรงและมีความเสถียรสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเครียดในการเรียนออนไลน์ได้
Objectives: To study the factor related to stress of online learning due to the COVID-19 situation among nursing students at Huachiew Chalermprakiet University.
Material and methods: This study a survey research. The samples consisted of 450 sophomore, junior, and senior of nursing students who were studying in the first semester of the academic year 2020in Huachiew ChalermprakietUniversity. The research instruments composed of the personal factors, contributing factors questionnaire and the stress of online learning. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson correlation coefficient. Results: Most of nursing students were junior students (35.8%),Grade Point Average between 2.50-3.00(47.6%), living in an urban area (55.8%),private living house or townhouse (51.6), internet 399 -699 bath/month (39.8%),an online leaning by using smartphones (32.5%).Factors that were significantly related to stress of online learning, were the academic environment classified as noise, thermal and the communication break down classified as latency in data transmission, stability of the waves or the internet of the network. Year of nursing students, Grade Point Average, location of the house, types of the housing, the expense of service internet, and the equipment used in online learning were not related to stress of online leaning. Conclusion: Environmental and communication barriers in an online class were factor related to stress of online leaning so this result can be used as a basic for planning to help nursing students reduce their stress during online leaning.