การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ เพื่อศึกษาปัจจัยทํานายพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอรเน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม 2561 จํานวน 401 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ความง่ายต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สัมพันธภาพในครอบครัวและพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ต ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือวิจัย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 3 ท่าน โดยได้ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป ความง่ายต่อการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สัมพันธภาพในครอบครัว และพฤติกรรมการติดอินเทอร์เน็ต เท่ากับ 0.95, 0.83, 1 และ 1 ตามลําดับ และหาความเชื่อมั่นจากแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.926 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์เชิงอ้างอิง วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์หาปัจจัยทํานายด้วยสถิติวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคุณด้วยวิธี Stepwise ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 66.1 และพบว่าปัจจัยที่ทํานายพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ตของกลุ่มตัวอย่าง คือระยะเวลาที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์ (β = 0.289, p < 0.05) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สามารถอธิบายการแปรผันของพฤติกรรมเสี่ยงการติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 8.3 (R2 = 0.083) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
This research is a survey research. The purpose of this study was to determine the predictors of risk behavior for internet addiction among grade 10 students of the Secondary Educational Service Area Office 2, Bangkok. The samples were composed of 401 grade 10 students of the Secondary Educational Service Area Office 2, Bangkok. And the duration is from July 2018 to August 2018. The data were collected by using questionnaires. The validity of instruments were verified by 3 experts. The scores of Personal Data Questionnaire, Internet Access Questionnaire, Family Relationship Questionnaire and Internet Addiction Test (IAT) are 0.95, 0.83, 1 and 1 respectively. The score for reliability of the questionnaire was 0.926. The data of research were analyzed by using descriptive statistics, inferential statistics, Pearson’s product movement correlation and multiple regression by stepwise method. The results showed that the risk behavior for internet addiction was low (66.1%) and the factor that significantly determined the predictors of risk behavior for internet addiction was weekly duration of internet use (β = 0.289, p < 0.05) and could explain 8.3% (R2 = 0.083) the variance of risk behavior for internet addiction statistically significantly at 0.05 level.