การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ดูแลหลักจำนวน 12 คนคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกต โดยใช้ระยะเวลาในการรวบรวมข้อมูล 4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2561 และทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของผู้ดูแลจำแนกได้เป็น 3 ประเด็น คือ 1) ภาวะสุขภาพมี 2 ด้าน คือด้านร่างกาย ได้แก่ การเสื่อมของร่างกายเพิ่มขึ้นปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เจ็บป่วยเล็กน้อยอ่อนเพลียและอาการของโรคเดิมกำเริบและด้านจิตใจได้แก่ เครียด 2) วิธีการดูแลตนเองด้านสุขภาพประกอบด้วย ด้านร่างกายได้แก่ หายามารับประทานนอนพักผ่อนทำกายบริหารยืดเหยียด นวดด้วยตนเอง และรับประทานอาหารเสริม ด้านจิตใจ ได้แก่ คิดบวก เข้าวัดทำบุญทำจิตใจให้สงบ นั่งสมาธิ สวดมนต์ ใส่บาตร ออกไปหาเพื่อนเพื่อผ่อนคลาย เมื่อมีการปะทะอารมณ์กันก็จะเดินหนี และหาคนมาดูแลแทนสักระยะ 3) ความต้องการการดูแลด้านสุขภาพ ได้แก่ ต้องการให้บุคลากรทางสุขภาพมาดูแลถึงบ้านต้องการคนมารับฟังความรู้สึกต้องการผู้ช่วยในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงและต้องการคนมาเยี่ยมไม่ทอดทิ้งกัน การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลต้องเข้าใจถึงความหมายของภาวะสุขภาพ วิธีการดูแลตนเอง และความต้องการของผู้ดูแลจึงจะทำให้สามารถให้การพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ดูแลได้อย่างเหมาะสมที่สุด
This qualitative research aimed to investigate the self-care experiences of the caregivers of older adults with bedridden patients. The informants of this study, which were selected by purposive sampling, included 12 caregivers of older adults with bedridden patients. The data collection was carried out by in-depth interview, observation, and content analysis. The findings of this study revealed that the self-care experiences of the caregivers of elderly bedridden patients can be discussed in three aspects. The first aspect was the health status covering the physical including increasing degenerative conditions of body, pains, aches, illnesses, exhaustion, exacerbation, and the mental sides including stress and depression. The second aspect was self-health caring which included the physical and mental sides. As for the physical self-care, it was reported that the informants took care of themselves by seeking medicines for their physical conditions, rest, exercise and stretching, massaging, and partaking supplement diets. As for the mental side, the informants revealed that they enhanced their spirit with positive thinking, making merits, meditation, chanting, offering food to the monks, meeting with friends, avoiding emotional clash, and looking for someone to temporarily substitute the care giving. The third aspect was the needs with respect to health care. It was found that the informants required professionals of health care to visit their home, someone to distress from giving care for bedridden patients, and visitors to drop by so that they would not feel solitude.