Abstract:
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการวินิจฉัยทางสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ในงานนิติจิตเวชของสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ มีวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการวินิจฉัยทางสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ในงานนิติจิตเวช2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ต่อการวินิจฉัยทางสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ในงานนิติจิตเวช ของสถาบันกัลป์ยาณ์ราชนครินทร์ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานด้านนิติจิตเวชในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการวินิจฉัยทางสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ในงานนิติจิตเวช ซึ่งได้ศึกษาปัจจัย 2 ด้าน คือ ปัจจัยด้านนักสังคมสงเคราะห์ และปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน1. ปัจจัยด้านนักสังคมสงเคราะห์มีผลต่อการวินิจทางสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ในงานนิติจิตเวช พบว่า ความแตกต่างกันระหว่างเพศหญิงกับเพศชายมีผลต่อการวินิจฉัยทางสังคมเพราะเพศหญิงมีความละเอียดอ่อนมากกว่าเพศชาย ซึ่งความแตกต่างในด้านอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ มีผลต่อการวินิจฉัยทางสังคม เนื่องจากอายุมากขึ้น วุฒิการศึกษาสูงขึ้น ประสบการณ์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีความละเอียด รอบคอบ มุมมองในการมองและทัศนคติที่กว้างไกล สามารถวางแผน แนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยทางสังคมในงานนิติจิตเวชได้ดียิ่งขึ้น และเรื่องความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญ นักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานทุกรายได้รับการอบรมความรู้ความเข้าใจทางด้านกฎหมายจากทางสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ก่อนการเริ่มต้นปฏิบัติงาน และมีการอบรมเพิ่มเติมจากกระทรวงยุติธรรม และทักษะที่จำเป็น คือ ทักษะการสัมภาษณ์ ทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล ทักษะการสังเกต ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการจดบันทึก ในส่วนของทัศนคติต่องานและต่อผู้ป่วย นักสังคมสงเคราะห์บางท่านที่ปฏิบัติงานมานานทำให้รู้สึกเฉยๆ ไม่กระตือรือร้นต่อการทำงานนัก2. ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานมีต่อการวินิจฉัยทางสังคมของนักสังคมสงเคราะห์ในงานนิติจิตเวช พบว่า นโยบายมีความชัดเจน ผู้บริหารมีความเข้าใจและให้ความสนับสนุน เพื่อนร่วมงานในทีมสหวิชาชีพได้ให้ความร่วมมือและให้การยอมรับ ลักษณะงานที่ทำมีความเป็นอิสระและท้าทาย สภาพการทำงานในการศึกษาครั้งนี้ หมายถึง ความเหมาะสมในเรื่องสถานที่ปฏิบัติงานมีความเหมาะสมพอสมควร เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยทางสังคม คือ แบบบัญชีปัญหาสังคมได้มาตรฐาน เพราะนักสังคมสงเคราะห์จิตเวชทั่วประเทศใช้ แต่ในส่วนของแบบสอบถามญาติยังไม่ได้มาตรฐานปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ด้านบุคลากร ซึ่งบุคลากรมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานด้านการวินิจฉัยทางสังคมในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยนิติจิตเวช ทำให้การปฏิบัติงานล่าช้าข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการประเมินผลของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติจริง นักสังคมสงเคราะห์จึงควรพยายามที่จะทำงานให้มีผลงานที่เห็นเป็นรูปธรรม สามารถอธิบายให้ผู้บริหารเข้าใจงานได้ ควรมีการประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อบกพร่องในส่วนงานของแต่ละวิชาชีพเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาในแต่ละวิชาชีพ นักสังคมสงเคราะห์จึงควรมีการพัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการ ขั้นตอนและเทคนิคอย่างต่อเนื่องเพื่อการปฏิบัติงานจะได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ควรจัดสถานที่ให้เหมาะสมเพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงาน ควรมีการปรับปรุงแบบบัญชีทางสังมให้เหมาะสม ในการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานควรมาจากผู้ที่มีคุณวุฒิเหมาะสมสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ควรมีการประเมินประสิทธิภาพนักสังคมสงเคราะห์ที่มีอยู่ และจัดอัตรานักสังคมสงเคราะห์ที่ปฏิบัติงานด้านนี้ให้เหมาะสมกับงาน