การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลและการปฏิบัติในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในโรงพยาบาลหัวเฉียว โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้นำนโยบายไปปฏิบัติจำนวน 25 คน กลุ่มผู้ก่อมูลฝอยติดเชื้อจำนวน 222 คน และกลุ่มผู้เก็บมูลฝอยติดเชื้อจำนวน 15 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2549 ศึกษาปัจจัย 3 ด้านคือ ด้านนโยบายและแผนงาน ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทรัพยากร ใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การผันแปรทางเดียวผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลของโรงพยาบาลหัวเฉียวอยู่ในระดับดี ในด้านการปฏิบัติก็พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับดีเช่นกันเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติจำแนกตามระดับความคิดเห็นต่อระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาล พบว่ากลุ่มตัวอ่ยางที่มีความคิดเห็นต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยรวมต่างกันจะมีการปฏิบัติต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับมากที่สุดกับระดับมากจะมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับมากที่สุดและระดับมากมีการปฏิบัติดีกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีคิดเห็นต่อระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)ด้านนโยบายและแผนงานจึงควรมีการจัดการในเรื่องการติดตามประเมินผลและการรายงาน ด้านการบริหารงานบุคคลควรให้ความสำคัญในเรื่องการให้ความรู้ ให้สวัสดิการคุ้มครองสุขภาพเพิ่มขึ้น และด้านการบริหารทรัพยากรควรมีการดูแลจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดการมูลฝอยในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
This study is a descriptive research survey that aimed to describe the infectious waste management in Hua Chiew Hospital including the management system and operation of infectious waste. The research was conducted using a survey questionnaire that assigned to 25 staffs in policy and planning level, 222 staffs who generated waste, and 15 staffs who collected and transported waste. Data were collected during August-September, 2006. The infectious waste management system is analysed into 3 parameters : policy and planning of the infectious waste management system, personnel management and resource management. Data were analysed using percentage, mean, standard deviation and one-way analysis of variance.The results of this study revealed that the system and operations of infectious waste management in Hua Chiew Hospital were good level.To compare between the system and operations of infectious waste management for the overall on infectious waste management was demonstrated to be significantly different (p<0.05).For an effective infectious waste management program in Hua Chiew Hospital, policy and planning of the infectious waste management system requires monitoring and reporting regarding the infectious waste management system. Personnel management needs training on infectious waste management and resource management, proper equipment should be provided.