DSpace Repository

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล : ด้านครอบครัว การขัดเกลาทางสังคม และวัฒนธรรม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author ต้องจิต นาคบุญชัย
dc.contributor.author Thongchit Narrboonchai
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-09-22T11:35:16Z
dc.date.available 2024-09-22T11:35:16Z
dc.date.issued 1995
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2865
dc.description ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2538 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในด้านครอบครัว การขัดเกลาทางสังคม และการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของผู้อยู่อาศัยในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นประชากรของกรุงเทพมหานครในเขตลาดกระบัง และประชากรของจังหวัดสมุทรปราการในอำเภอที่ติดต่อกัน 3 อำเภอ คือ อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ และกิ่งอำเภอบางเสาธง จำนวน 784 คน ใช้วิธีการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่งประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับขนาดครอบครัว ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว การขัดเกลาทางสังคมและถ่ายทอดวัฒนธรรม ได้รับแบบสอบถามฉบับที่สมบูรณ์กลับคืนมา จำนวน 618 ฉบับ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า1. ด้านขนาดครอบครัวพบว่าในปัจจุบันมีขนาดเล็กลง คือ อดีตเฉลี่ย 4.268 คน ที่พบมากที่สุดมีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 35.90 ปัจจุบันเฉลี่ยเพียง 3.351 คน ที่พบมากที่สุด คือ มีสมาชิกครอบครัวละ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 35.902. ด้านความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว พบว่า ปัจจุบันความสัมพันธ์ในครอบครัวมีค่าเฉลี่ยลดลงจากอดีตทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญบางสถิติที่ระดับ .0013. ด้านการขัดเกลาทางสังคม ในเรื่องของการอบรมนิสัยและการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญจากผู้อาวุโส พบว่า ปัจจุบันการอบรมนิสัยและการถ่ายทอดความรู้ความชำนาญมีค่าเฉลี่ยลดต่ำลงจากในอดีตทั้ง 2 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0014. เรื่องการอบรมสั่งสอนให้เด็กเป็นคนเก่งโดยเน้นพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคมพบว่า ในเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง ไม่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับปานนกลาง แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันก็ยังคงให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวเหมือนในอดีต ส่วนในเรื่องการช่วยเหลือตนเอง การเป็นผู้รับและเป็นผู้ให้ การปฏิบัติตามมารยาททางสังคม และการรู้จักยอมรับผิดเมื่อกระทำผิด มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยในปัจจุบันต่ำกว่าในอดีตทุกลักษณะ5. เรื่องการอบรมสั่งสอนเพื่อให้เด็กเป็นคนดีโดยเน้นพัฒนาการด้านจริยธรรม พบว่าในเรื่องการมีใจเมตตา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว การตรงต่อเวลา และการเคารพกฎระเบียบวินัยไม่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับปานกลางแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญเหมือนในอดีต สำหรับเรื่องการมีสัมมาคารวะ และการเกรงใจผู้อื่น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการกตัญญูกตเวที และการปฏิบัติตามหลักศาสนาม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าเฉลี่ยในปัจจุบันต่ำกว่าในอดีตทุกลักษณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปฏิบัติตามหลักศาสนา6. เรื่องการถ่ายทอดวัฒนธรรม พบว่า ในเรื่องการซื่อสัตย์กับคู่ครอง การถือคติจะไปก็ลาจะมาก็ไหว้ การตอบแทนบุญคุณผู้มีพระคุณ การถือความซื่อสัตย์สุจริต และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เมื่อมีภัย ไม่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับปานกลางทุกลักษณะ แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างในปัจจุบันคงมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมให้กับเด็กรุ่นหลัง เหมือนในอดีต ส่วนในเรื่องการให้ความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ การทำความเคารพผู้ใหญ่ การนิยมศิลปะไทย มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญมีระดับ .05 สำหรับเรื่องการรักนวลสงวนตัว การมีพิธีแต่งงาน การที่ผู้ชายต้องบวชทดแทนคุณพ่อและแม่ การไม่โต้แย้งผู้ใหญ่มีความแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเกือบทุกลักษณะมีค่าเฉลี่ยในปัจจุบันลดลงกว่าในอดีตโดยเฉพาะการไม่โต้แย้งผู้ใหญ่ มีเพียงการนิยมศิลปะไทยเท่านั้น ที่มีค่าเฉลี่ยในปัจจุบันสูงกว่าในอดีตผลงานวิจ้ยในครั้งนี้พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้ ในเรื่องวัฒนธรรมควรให้การศึกษาอบรมสร้างเสริมปลูกฝังให้แก่เด็กรุ่นหลังในส่วนที่ยังขาดหายไป เพื่อพัฒนาไปพร้อมๆ กับวัฒนธรรมในด้านอื่นที่ยังคงยืดถืออยู่ ในเรื่องความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวและในด้านวัฒนธรรม ผู้อาวุโสหรือพ่อและแม่ควรชี้แจงให้เห็นถึงผลดีและผลเสียเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติตนต่อตนเอง และผู้อื่น ในสถานศึกษาควรเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนให้ความรู้ในด้านครอบครัว การขัดเกลาทางสังคม การถ่ายทอดวัฒนธรรม en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject ครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ en
dc.subject Families -- Thailand -- Bangkok. en
dc.subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม en
dc.subject Social change en
dc.subject การดำเนินชีวิต en
dc.subject Conduct of life en
dc.subject สังคมประกิต en
dc.subject Socialization en
dc.subject การเลี้ยงดูเด็ก en
dc.subject Child rearing en
dc.subject การขัดเกลาทางสังคม en
dc.title การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนในเขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล : ด้านครอบครัว การขัดเกลาทางสังคม และวัฒนธรรม en
dc.title.alternative A Life Style Adjustment of the Occupants in Bangkok Metropolitan Suburbs and Its Peripheral Areas : Their Family, Socialization and Culture en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account