Abstract:
การศีกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตพื้นที่ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง โรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ โรงเรียนคลองกระทุ่ม และโรงเรียนซิกข์วิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 510 คนผลการศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุ 15 ปี ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เกรดเฉลี่ยสะสมของนักเรียนอยู่ระหว่าง 2.00-2.99 บิดามารดาของนักเรียนมีรายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท ได้เงินมาโรงเรียนวันละ 31-60 บาท เคยมีเพื่อนร่วมกิจกรรมต้านยาเสพติ และจำนวนเพื่อนของนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมต้านยาเสพติดนั้น ส่วนใหญ่มี 1-5 คน การศึกษาความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดนั้นพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ทราบว่าบุหรี่เป็นยาเสพติดประเภทหนึ่ง ส่วนการเรียนรู้เกี่ยวกับยาเสพติดนั้นพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับความรู้เรื่องยาเสพติดจากโรงเรียนในปีที่ผ่านมาโดยได้รับความรู้ 1-5 ครั้ง ในรอบปีที่ผ่านมาไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนนอกโรงเรียน โดยนักเรียนที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนนอกโรงเรียนนั้น ส่วนใหญ่เคยเข้าร่วม 1-3 ครั้ง นักเรียนส่วนใหญ่เคยได้เรียนรู้เกี่ยวกับยาเสพติดจากสมาชิกในครอบครัว สื่อส่วนใหญ่ที่นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดมากที่สุด คือ โทรทัศน์ความถี่ในการรับรู้เรื่องยาเสพติดจากสื่อที่ได้รับนั้น ส่วนใหญ่นักเรียนได้รับรู้ 1-10 ครั้งต่อเดือนการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน แบ่งออกเป็น 4 ด้านได้แก่1. การค้นหาปัญหาและสาเหตุ นักเรียนส่วนใหญ่เคยหาข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหายาเสพติดจากสื่อต่างๆ ไม่เคยปรึกษาปัญหายาเสพติดในโรงเรียนกับผู้ปกครอง เคยสังเกตเพื่อนที่มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น เก็บตัว ไม่พูด หนีเรียนบ่อยๆ ไม่เคยเสนอปัญหาและความต้องการในการแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดในโรงเรียนและไม่เคยปรึกษาหารือกับเพื่อนถึงปัญหายาเสพติดในโรงเรียน2. การวางแผนดำเนินกิจกรรม นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เคยร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดของโรงเรียน เคยสนับสนุนการออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด เคยสนับสนุนให้เพื่อนนักเรียนออกกำลังกาย โดยการจัดหาอุปกรณ์การกีฬาหรือการจัดกิจกรรมต่างๆ เคยทำรายงานเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษเสนออาจารย์ และร่วมมือกับทางโรงเรียนในการจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดในโรงเรียน3. การลงทุนและปฏิบัติงาน นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เคยแจ้งครูหรือเจ้าหน้าที่เรื่องยาเสพติด ไม่เคยร่วมเสนอแนะการจัดกิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพสพติดในโรงเรียน เคยร่วมในการจัดและดำเนินกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดในโรงเรียน เช่น การรณรงค์ ไม่เคยร่วมให้ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เช่น แผ่นปลิว โปสเตอร์ เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติดและชักชวนให้เพื่อนๆ ร่วมจัดกิจกรรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น ออกกำลังกาย นันทนาการ4. การติตดามและประเมินผล นักเรียนส่วนใหญ่เคยร่วมประเมินผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดในโรงเรียน ไม่เคยร่วมติดตามการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดของโรงเรียน ไม่เคยร่วมติดตามผลผู้ผ่านการบำบัดรักษาในโรงเรียน เคยติดตามประเมินผลจากการจัดกิจกรรมในโรงเรียนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด และคิดว่าโรงเรียนของตนดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ดีเพียงพอการวิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า การมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีความสัมพันธ์กับการเรียนรุ้เกี่ยวกับยาเสพติดจากสมาชิกในครอบครัว เพศ การเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนนอกโรงเรียน และความถี่ในการรับรู้เรื่องยาเสพติดจากสื่อที่ได้รับข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ ครอบครัวควรให้ความสำคัญของปัญหายาเสพติดให้โทษ โดยให้ความรักความอบอุ่นเพื่อไม่ให้เด็กหันไปหายาเสพติด สร้างสัมพันธภาพที่ดีโดยโครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในเด็กนักเรียน (Drug Abuse Resistance Education : D.A.R.E.) เพื่อให้เด็กเกิดทักษะในการตัดสินใจและร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประสานและสร้างความไว้วางใจต่อกันโดยจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นสื่อประสานใจให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น