DSpace Repository

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง weight-bearing lunge test กับแบบประเมิน Mini-BEST test ของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะไม่มั่นคงของข้อเท้าในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.author เชาว์นวิทย์ สุทธิวานิช
dc.contributor.author Chaowit Suttiwanit
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Physical Therapy en
dc.date.accessioned 2024-09-26T14:46:01Z
dc.date.available 2024-09-26T14:46:01Z
dc.date.issued 2023
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2914
dc.description Proceedings of the 10th National and International Conference on "Research to Serve Society", 29 June 2023 at Huachiew Chalermprakiet University, Bangphli District, Samutprakarn, Thailand. (e-Conference on Zoom) p. 171-182 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวกับความสามารถในการทำงานของข้อเท้าในผู้สูงอายุชุมชนบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ วิธีการศึกษา: การศึกษาด้วยวิธีวิจัยแบบภาคตัดขวางดำเนินโดยผู้ประเมินที่ได้รับการฝึกอย่างดี 4 คน ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ แล้วคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีภาวะไม่มั่นคงของข้อเท้าอายุ ระหว่าง 60-80 ปี จำนวน 24 คน เพศหญิงจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเคหะฯ เมืองใหม่บางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยวิธี convenience sampling และผลลัพธ์สำคัญของการศึกษาคือค่าคะแนนด้าน anticipatory postural adjustment, postural response, sensory orientation, dynamic gait และคะแนน รวมของแบบประเมิน Mini-BEST test, ค่ามุมองศาขณะทำ weight-bearing lunge test แล้วทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวกับความสามารถในการทำงานของข้อเท้าด้วยสถิติ Pearson’s correlation ตามลำดับ ผลการศึกษา: อาสาสมัครมีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 23.76 ± 2.64 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร, ค่าคะแนนรวมของแบบประเมิน Mini-BEST test เฉลี่ยเท่ากับ 23.17 ± 1.40 คะแนน, ค่ามุมองศาขณะทำ weightbearing lunge test ข้างซ้ายและข้างขวาโดยเฉลี่ยเท่ากับ 31.75 ± 2.59 องศาและ 30.91 ± 2.60 องศา ตามลำดับนอกจากนี้พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมิน Mini-BEST test ด้าน dynamic gait และค่าคะแนนรวมทั้งหมดกับการทดสอบ weight-bearing lunge test ของข้อเท้าข้างซ้าย อยู่ในระดับต่ำซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ0.215 และ 0.201 (P=0.313; P=0.358) ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา: ไม่สามารถใช้แบบประเมินในทุกด้านของ Mini-BEST test ในการประเมินความสามารถในการทำงานของข้อเท้าในกลุ่มผู้สูงอายุเพศหญิงชุมชนบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากมีค่าความสัมพันธ์ระหว่าง weight-bearing lunge test กับแบบประเมิน Mini-BEST test อยู่ในระดับต่ำหรือไม่มีความสัมพันธ์กันเลย แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าวมีคะแนนของการประเมินการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นผู้วิจัยจีงเห็นว่าสามารถให้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เพิ่มความสามารถในการทรงตัว อาทิเช่น ลีลาศหรือไทเก๊ก เพื่อให้มีคะแนนของการประเมินการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับที่สูงขึ้นและลดความเสี่ยงในการล้มในอนาคต เป็นต้น en
dc.description.abstract Objective: to investigate the correlation between the Mini-BEST test with weight-bearing lunge test of the elderly people in Bang Phi district, Samutprakarn Methods: A cross sectional study was conducted by 4 well trained assessors of faculty of physical therapist, Huachiew Chalermprakert University. Then, the researchers collected the 24 participants with ankle instability who aged between 60 to 80 years old from the Mueangmai-Bang Phli national housing of tambon health promotion hospital, Bang Phli district, Samutprakan by the convenience sampling. The outcomes of this study were the Mini-BEST test (anticipatory postural adjustment), the Mini-BEST test (postural response), the Mini-BEST test (sensory orientation), the Mini-BEST test (dynamic gait), the total score of Mini-BEST test, the degrees of ankle function. Already, the researchers found the relationship between the Mini-BEST test with weight-bearing lunge test by Pearson’s correlation, respectively. Results: For participants, the average BMI were 23.76 ± 2.64 kg/cm2, the average of total score of the Mini-BEST test were 23.17 ± 1.40 scores, the average of weight-bearing lunge test on left and right side were 31.75 ± 2.59 degrees and 30.91 ± 2.60 degrees, respectively. Moreover, this study found that the relationship between the Mini-BEST test (dynamic gait) and the total score of the Mini-BEST test with the weight-bearing lunge test on left and right side were 0.215 and 0.201 (P=0.313; P=0.358), respectively. Conclusion: The researchers found that cannot using the Mini-BEST test for the evaluation of weight-bearing lunge test of the elderly people in Bang Phi district, Samutprakarn. Because of the relationship between the weight-bearing lunge test with the Mini-BEST test were low or not correlated. However, this study found that elderly people who were assessed by the Mini-BEST test had a moderate level of the dynamic balance. Therefore, the researchers recommended that give therapeutic exercise for improve balance such as dancing or tai-chi which could increase to the high level of dynamic balance and decrease the risk of falling in the future. en
dc.language.iso th en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การทรงตัว en
dc.subject Equilibrium (Physiology) en
dc.subject ข้อเท้า en
dc.subject Ankle en
dc.subject ผู้สูงอายุ en
dc.subject Older people en
dc.subject ภาวะข้อเท้าไม่มั่นคง en
dc.subject Ankle instability en
dc.title การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง weight-bearing lunge test กับแบบประเมิน Mini-BEST test ของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะไม่มั่นคงของข้อเท้าในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ en
dc.title.alternative The relationship between weight-bearing lunge test with the Mini-BEST test of the elderly people with ankle instability in Bang Phi district, Samutprakarn en
dc.type Proceeding Document en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account