การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยร่วม ปัจจัยด้านการรับรู้และปัจจัยด้านสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบา-หวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทร-ปราการ จำนวน 125 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามเพศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบของฟิชเชอร์ (Fisher’s exact test) และสถิติ Spearman’s rank correlation analysis ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ในรายด้านทั้งการทำความสะอาดช่องปาก การตรวจสุขภาพช่องปาก และการหลีก-เลี่ยงบริโภคอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง ปัจจัยร่วมประกอบด้วย เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากทางสถิติ ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01 ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดโรคในช่องปาก การรับรู้ความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนในช่องปาก การรับรู้ประโยชน์การดูแลสุขภาพช่องปาก และการรับรู้อุปสรรคจากการปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพช่องปาก (r=0.32, 0.23, 0.35, และ 0.31, p=0.00) ปัจจัยด้านสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01 (r=0.34, p=0.00) ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าควรพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน โดยการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และมีเนื้อหาที่ทำให้ผู้ป่วยรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดโรคในช่องปาก ความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนในช่องปาก ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพช่องปาก และอุปสรรคจากการปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพช่องปาก
The objectives of this cross-sectional descriptive research were to study the oral health care and the relationship between perception factors, modifying factors and induction factors influencing the oral health care of diabetic patients in Wat Sriwareenoi Health Promoting Hospital, Sisa Chorakhe Yai Sub-district, Bang Sao Thong District, Samutprakan Province. The sample of 125 diabetic patients were selected through stratified random sampling based on gender. Data were obtained by using questionnaire and analyzed them by frequency, percentage, mean, standard deviation, fisher’s exact test, and Spear¬man’s rank correlation analysis. It was found that the oral health care practice of diabetic patients were at the moderate level. The oral cleaning, oral check-up and avoiding food items which caused negative influences on oral cavity were at moderate level. However, the behavioral practices to avoid dental health risk were at the high level. The modifying factors including gender, age, income, educational attainment, marital status, and knowledge on the oral health care did not significantly associate with the oral health care behaviors of diabetic patients. Moreover, the perception factors such as perceived susceptibility of oral diseases, perceived severity and complications in the oral cavity, perceived benefits of oral health care, perceived barriers in oral health care had significantly positive relationship with the care (r=0.32, 0.23, 0.35, 0.31, and p<0.01). The induction factors such as accepting the information about oral health care had positive relationship with the oral health care of the patients (r=0.34, p<0.00). This research suggests that oral health care should be promoted in diabetic patients by providing information about oral health care that support the patients to perceive susceptibility of oral diseases, severity and complications in the oral cavity, benefits of oral health care, and barriers of oral health practice.