การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความต้องการในการดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน และความคาดหวังการบริการสุขภาพที่สนับสนุนการดูแล เพื่อสังเคราะห์แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางตามการรับรู้ของผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรสุขภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกแบบเจาะจง คือ 1) ครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 8 ครอบครัว เป็นผู้ป่วยจำนวน 2 คน สมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลหลัก 8 คน 2) บุคลากรสุขภาพจำนวน 10 คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่าปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านตามการรับรู้ของครอบครัวและบุคลากรสุขภาพ ประกอบด้วย ปัญหาด้านสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย ปัญหาด้านครอบครัว และปัญหาด้านการบริการสุขภาพ ความต้องการในการดูแล ได้แก่ ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย เรียนรู้การปฏิบัติการดูแลเตรียมความพร้อมในการดูแลที่บ้าน และการช่วยเหลือสนับสนุนการดูแลที่บ้าน สำหรับความคาดหวังการบริการเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ จัดหน่วยบริการเฉพาะ มีแนวทางปฏิบัติเฉพาะ เตรียมบุคลากรทีมให้ ความรู้ และมีระบบการประสานงานการบริการการดูแลต่อเนื่อง แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย 1) แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านระหว่างที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่เป็นการเจ็บป่วยครั้งแรก 2) แนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านระหว่างผู้ป่วยกลับเข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาลซ้ำ 3) แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะที่ผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน 4) แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเมื่อมาตรวจตามนัดข้อเสนอแนะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ควรเน้นการสร้างพลังของครอบครัวในการจัดการดูแลและได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรสุขภาพ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดการกลับเข้าโรงพยาบาลซ้ำ
This qualitative study aimed 1) to examine problems and needs of the care for patients with cerebrovascular disease (CVD) at home according to the perception of the patients, families, and health personnel 2) to investigate expectations toward healthcare services that support family–centered care for CVD patients at home, and 3) to synthesize guidelines for family-centered care for CVD patients at home to prevent complications. Key informants included eight families, two CVD patients and eight family members, and ten healthcare providers. In-depth interview, participant and non-participant observations were implemented. The content analysis was used.The finding indicated that the problems in caring for CVD patients at home, reflected by both the families and the healthcare providers, consisted of the patients’ health problems and complications, caregivers’ problems, and healthcare service problems. The needs in caring CVD patients at home to prevent complications included “information and knowledge of the illness”, “leaning caring skills”, “preparing for taking care the patients at home”, and “supports for taking care the patients at home”. The expectations toward healthcare services that support family-centered care for CVD patients at home to prevent complications included “a specific unit of healthcare service”, “a specific guideline”, “personnel preparation”, “education team”, and “continuing care coordination system”. Guidelines for family-centered care to prevent complications at home in CVD patients consisted of 1) a guideline to prepare the care for CVD patients at home during first hospitalization, and 2) a guideline to prepare the care for CVD patients at home during re-hospitalization, 3) a guideline to care for CVD patients during home stay, and 4) a guideline to care for CVD patients during follow-up at out-patient unit. To take care for the CVD patients at home to prevent complications based on family-centered approach, family empowerment for care management is important. In addition, family should be supported by healthcare providers to prevent complications, and reduce reoccurrence of hospitalization to the patients.