โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุดเป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบได้มากที่สุด โดยพบว่ายังไม่มี แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในปัจจุบัน ดังนั้นงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลตรัง จึงได้พัฒนาแนวทางฟื้นฟูสมรรถภาพ ในผู้ป่วยโรคหินปูนในหูชั้นในหลุดด้วยรูปแบบตรังโมเดลและติดตามตัวชี้วัดของคลินิก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการพัฒนาแนวทางการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหินปูนในหูชั้นในหลุดด้วยรูปแบบตรังโมเดลต่อตัวชี้วัดการพัฒนา คลินิกลดเวียนศีรษะ วิธีการศึกษาใช้การทบทวนข้อมูลย้อนหลังข้อมูลของผู้เข้ารับการบริการคลินิกลดเวียนศีรษะปี พ.ศ. 2559-2564 งานเวชสถิติ โรงพยาบาลตรัง จำนวน 1,032 ราย แสดงผลลัพธ์ตัวชี้วัดการพัฒนาคลินิกด้าน อัตราการจำหน่ายผู้ป่วย จำนวนครั้งเฉลี่ยการเข้ารับการบริการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาแนวทางสามารถเพิ่มอัตราการจำหน่ายผู้ป่วยภายใน 5 ครั้ง ค่าเฉลี่ยการเข้ารับ ค่าเฉลี่ยของการเข้ารับ บริการในปี พ.ศ 2563 – 2564 อยู่ที่ 1.01 และ 1.71 ครั้งตามลำดับ และความพึงพอใจของผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น สรุปการวิจัยครั้งนี้พบว่า การพัฒนาแนวทางการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหินปูนในหูชั้นในหลุดด้วยรูปแบบตรังโมเดลสามารถ เพิ่มผลลัพธ์ของตัวชี้วัดทางคลินิกเมื่อเเทียบกับก่อนการพัฒนา
Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) caused by dislodged inner ear otoliths is the most common cause of vertigo symptoms characterized by spinning sensations. Currently, there is no clear treatment guideline available for this condition. Therefore, the Physical Therapy Department at Trang Hospital has developed a rehabilitation guideline to improve the functional capacity of patients with BPPV using the Trang model approach and clinical outcome measures. The objective of this study was to investigate the effects of implementing this rehabilitation guideline on the clinical outcomes and reduction of vertigo symptoms. The study utilized a retrospective data review of BPPV patients who received treatment at Trang Hospital’s clinic between the years 2016 and 2021, with a total of 1,032 cases. The results demonstrated that the implementation of the new rehabilitation guideline significantly increased the number of patient discharges within five treatment sessions. The average number of visits per patient increased from 1.01 to 1.71 between the years 2020 and 2021, respectively. Moreover, patient satisfaction also showed a significant improvement. In conclusion, this study found that the development of a rehabilitation guideline for BPPV using the Trang model approach resulted in improved clinical outcomes compared to the pre-guideline period.