การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แรกในโรงพยาบาลหัวเฉียว การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ เป็นการศึกษาสถานการณ์ของปัญหาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างกว้าง ๆ เพื่อนำข้อมูลมาสร้างแนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่ม ระยะดำเนินการ ประกอบด้วยการศึกษาปัญหาที่แท้จริงโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกมารดาครรภ์แรกและญาติ สัมภาษณ์และสนทนากลุ่มผู้ให้บริการ คือ สูติแพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาลและผดุงครรภ์ในแผนกฝากครรภ์ แผนกประกันสุขภาพถ้วนหน้า ห้องคลอด แผนกหลังคลอด และแผนกบริบาลทารกแรกเกิด รวมทั้งสังเกตแบบมีส่วนร่วมและจดบันทึกข้อมูล จากนั้นนำเสนอปัญหาแก่ผู้ให้บริการและมารดาพร้อมญาติ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางปฏิบัติการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยจัดสนทนากลุ่ม 2 ครั้ง ระยะสุดท้ายเป็นการประเมินผลโดยนำแนวทางการปฏิบัติไปดำเนินการพัฒนาเป็นรูปแบบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือ สะท้อนปัญหา หาแนวทางการแก้ปัญหา ปฏิบัติ และประเมินผล เมื่อพบปัญหาและอุปสรรคนำกลับมาปรับแนวทางการแก้ปัญหาและปฏิบัติใหม่จากกระบวนการพัฒนาฯ พบว่า รูปแบบการดูแลต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่ในมารดาครรภ์แรกแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะฝากครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ประเมินความตั้งใจของมารดาในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อพบว่า มารดามีความตั้งใจจึงให้ความรู้เกี่ยวกับการให้นมแม่ คัดกรองและแก้ไขหัวนม ลานนมของมารดาที่มีผลต่อการให้นมลูก แต่ถ้าพบว่ามารดาไม่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โน้มน้าวมารดาเพื่อส่งเสริมมีความตั้งใจ ระยะคลอดสอนหายใจเพื่อบรรเทาอาการเจ็บครรภ์ ซึ่งทำให้ลดการใช้ยาแก้ปวดและยานอนหลับ ในรายคลอดปกติระยะหลังคลอดทันทีประเมินความพร้อมของมารดาและลูก จากนั้นนำลูกมาโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและให้ดูดนมแม่ครั้งแรก เมื่อมารดาและเด็กย้ายไปพักที่แผนกหลังคลอดประเมินความพร้อมของมารดาทางด้านร่างกายช่วยเหลือโดยการนำเด็กมาดูดนมแม่บ่อย ให้ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสาธิตย้อนกลับ ประเมินปัญหาก่อนกลับบ้าน วางแผนการจำหน่าย และระยะหลังจำหน่าย ในมารดาที่มีแนวโน้มจะประสบปัญหาในการให้นมแม่ที่บ้านนัดมารดามาโรงพยาบาล เพื่อประเมินการให้นมลูกต่อเนื่อง ติดตามมารดาทางโทรศัพท์ภายใน 7 วันหลังคลอดทุกราย ซึ่งรูปแบบที่พัฒนาได้ในครั้งนี้ ได้พัฒนาใบบันทึกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อบันทึกปัญหา การแก้ปัญหา และความรู้ที่มารดาได้รับในทุกระยะให้มารดาได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเมื่อนำรูปแบบการดูแลต่อเนื่องฯ มาทดลองใช้กับมารดาครรภ์แรก จำนวน 15 ราย พบว่า มารดามีพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับดีร้อยละ 53.33 ระดับปานกลาง ร้อยละ 46.67 มารดามีระยะเวลาการให้นมตามความคาดหวังมากกว่าและเท่ากับ 6 เดือน จำนวน 5 ราย ร้อยละ33.33 และให้นมแม่ 2-3 เดือน จำนวน 8 ราย ร้อยละ 53.33 มารดามีความพึงพอใจในรูปแบบการดูแลต่อเนื่องฯ ระดับมากในระยะฝากครรภ์ และระยะคลอดเท่ากัน คือ ร้อยละ 86.67 ระยะหลังคลอดและระยะหลังจำหน่ายเท่ากันอีก คือ ร้อยละ 66.67 บุคลากรมีความพึงพอใจกับรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ร้อยละ76.0 ในการนำรูปแบบการดูแลต่อเนื่องฯ ไปใช้ในโรงพยาบาลหัวเฉียว ผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการปรับรูปแบบการดูแลต่อเนื่องฯ ให้เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง สำหรับการนำไปใช้ในสถานบริการอื่นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทนั้น ๆ เช่นกัน
This study was a Participatory Action Research, which aimed to study the process of development the program of continuing care to promote breast feeding in primigravida at Hua-Chiew Hospital. The process was divided into 3 stages. “Preparation stage” was studying the current situation of breast feeding problems in order to develop interview guideline. Second stage was implementation stage. It consisted of in-depth interview with primigravida and their relatives and focus group with health care providers such as obstetricians, pediatricians, nurse and midwives in antenatal care unit. Primary care unit, labour room, high risk nursery, and postpartum unit. Participant observation and field note were also used in this stage. After that, the current situation of breast feeding problems had been presented to health care providers, mothers and their relatives. Focus group was done twice for participating on solving breast feeding problems. “Final stage” was evaluative stage. The guidelines were conducted to any departments concerned by reflecting problems, finding guidelines for solving problems, implementing, and evaluating the results. When any problems had occurred, the guidelines for solving problems would be revised and conducted again. From the development process, it was found that the program of continuing care to promote breast feeding in primigravida could be divided into 4 phases. First phase was the “antenatal care”. The second trimester mother was assessed for their willness to breast feed their child. After the mothers had intention, the mother would be provided education on breast feeding, screened, fixed nipple and alveolar, which affected breast feeding. In contrast, the mothers with no intention would be persuaded to breast feed their child. Breasting technique would be taught “during labor” in order to reduce pain relief and sleeping pills “After the baby was born in case of normal delivery”, the mother and the child would be assessed the readiness for immediate contact and early sucking. When the mother and the child stayed in postpartum unit, the mother was assessed the physical readiness in order to be assisted for breast feeding by bringing child to suck frequently, providing education on breast feeding, and return demonstration. The problem assessment of breast feeding and planning before discharge would also be done. After the mothers were “discharged from the hospital”. The mother, who tended to have any problem related to breast feeding at home, would be scheduled to see a doctor in order to evaluate continuing breast feeding. Every mother would be followed up within 7 days by telephone calling. This development program consisted of breast feeding forms for recording problems, solving problems and providing educations for mother in every phase to receive continuing care. This development program was applied with fifteen primigravidarum. It was found that the mothers had good skills for breast feeding 53.33%, moderate skills 46.67%. There were five mothers with expected breast feeding period 6 months or more 33.33%. Eight mothers would have breast feed their child for two to three months 53.33%. The mothers were satisfied with the program of continuing care to promote breast feeding in high level both antenatal phase and perinatal phase equally 86.67%. Whereas postpartum phase and after discharge were satisfied equally at 66.67%. The researcher recommended to adjust the program suited with any changing contexts of the hospital. For other health care services, the application of this program would also adjust to fit with their contexts as well.