DSpace Repository

ความสัมพันธ์ของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคม และการรับรู้ข่าวสารต่อความวิตกกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author นิลาวรรณ งามขำ
dc.contributor.author กัญญาภรณ์ ศรีรักษา
dc.contributor.author รักษา หินสูงเนิน
dc.contributor.author วนิดา สุภาพ
dc.contributor.author Nilawan Ngamkham
dc.contributor.author Kanyaporn Sriraksa
dc.contributor.author Raksa Hinsoognern
dc.contributor.author Wanida Supap
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health. Student of Bachelor of Public and Environmental Health. en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health. Student of Bachelor of Public and Environmental Health. en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health. Student of Bachelor of Public and Environmental Health. en
dc.date.accessioned 2024-10-02T14:47:25Z
dc.date.available 2024-10-02T14:47:25Z
dc.date.issued 2022
dc.identifier.citation วารสาร มฉก. วิชาการ 26,1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) : 76-86. en
dc.identifier.issn 0859-9343 (Print)
dc.identifier.issn 2651-1398 (Online)
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2960
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/254116/173753 en
dc.description.abstract การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคม และการรับรู้ข่าวสารต่อความวิตกกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ หลักสูตรภาคปกติ จำนวน 261 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามให้ตอบเอง ที่มีค่าดัชนีระหว่างความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของตัวแปรผลความวิตกกังวล ตัวแปรผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ตัวแปรผลกระทบด้านสังคม และตัวแปรการรับรู้ข่าวสาร เท่ากับ 0.908, 0.908, 0.901 และ 0.943 ตามลำดับ ข้อค้นพบจากการศึกษา พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีระดับความวิตกกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 อยู่ในระดับมาก และพบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลมากที่สุด คือ ตัวแปรผลกระทบด้านเศรษฐกิจ รองลงมา คือ ตัวแปรการรับรู้ข่าวสาร และตัวแปรผลกระทบด้านสังคม ตามลำดับ (b=0.377, 0<0.001; b=0.347, p<0.001; b= 0.175, p<0.001 ตามลำดับ) และมีความสามารถในการอธิบายความผันแปรความวิตกกังวลได้ ร้อยละ 58.50 (R[superscript 2] = 0.585) ดังนั้น มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินำข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้ไปวางแผนจัดกิจกรรมโครงการหารายได้ การติดตามข่าวสารและการป้องกันการติดเชื้อเพื่อลดความวิตกกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แก่นักศึกษาซึ่งเน้นเรื่องผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การรับรู้ข่าวสาร และผลกระทบด้านสังคม ตามลำดับ en
dc.description.abstract This cross-sectional descriptive research aims to study the anxiety level about the COVID-1o epidemic situation among senior students at Huachiew Chalermprakiet University and to examine the association of economic impact, social impact, and information perception with anxiety during the Coronavirus Disease Pandemic among 4th year students. The samples were senior students from Huachiew Chalermprakiet University. The sample group consisted of 261 senior students selected by a stratified random sampling technique. The content validity of questionnaires was proven by three experts. The Item-Objective Congruence Index (IOC) of all questions were 0.67-1.00. The Cronbach’s alpha reliability test of the anxiety during the coronavirus disease pandemic, for economic impact, social impact, and information perception were 0.908, 0.908, 0.901, and 0.943, respectively. The findings of the study showed that anxiety during the coronavirus disease pandemic was at a high level, and that the variable having the biggest association with anxiety is Economic impact, followed by information perception, and social impact (b=0.377, p<0.001; b=0.347, p<0.001; b=0.175, p<-0.001, respectively). All the variables in the model could explain the anxiety level at 58.5% (R2=0.585). The findings of this study assist Huachiew Chalermprakiet University administration in developing plans for income project activities, news tracking, and infection prevention in order to reduce anxiety during the Coronavirus Disease pandemic and emphasize economic impact, information exposure, and social impact, respectively. en
dc.language.iso th en
dc.subject ความวิตกกังวล en
dc.subject Anxiety en
dc.subject โควิด-19 (โรค) en
dc.subject COVID-19 (Disease) en
dc.subject การระบาดใหญ่ของโควิด-19, ค.ศ. 2020- en
dc.subject COVID-19 Pandemic, 2020- en
dc.subject มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา en
dc.subject Huachiew Chalermprakiet University -- Students en
dc.title ความสัมพันธ์ของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคม และการรับรู้ข่าวสารต่อความวิตกกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.title.alternative Association of Economic Impact, Social Impact, and Information Perception with Anxiety during the Coronavirus Disease Pandemic among 4th Year Students of Huachiew Chalermprakiet University en
dc.type Article en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account