การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม และการให้ความรู้เป็นรายบุคคลต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้า และสภาพเท้าของทหารที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ทหารที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และเข้ารับการรักษาที่หน่วยตรวจโรคทหารที่ 11 และ 13 ในกรุงเทพมหานคร สุ่มหน่วยทหารอย่างง่ายเพื่อแบ่งกลุ่ม ได้หน่วยตรวจโรคที่ 11 เป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม หน่วยตรวจโรคที่ 13 เป็นกลุ่มที่ได้รับความรู้เป็นรายบุคคล หลังจากนั้นเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณลักษณะที่ตรงตามเกณฑ์ และสมัครใจเข้าร่วมโครงการหน่วยละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้า แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแล สุขภาพเท้า และแบบประเมินสภาพเท้า และ 2) เครื่องมือในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม ประกอบด้วยแผนการทำกิจกรรมกลุ่ม การออกแบบงาน และการใช้ตัวแบบ การให้ความรู้เป็นรายบุคคล ประกอบด้วยคู่มือการดูแลสุขภาพเท้า และการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามและแบบทดสอบ ผู้วิจัยประเมินสภาพเท้า โดยใช้แบบประเมินสภาพเท้าก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS 11.5 เพื่อหาค่าสถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า1)กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้า และการประเมินสภาพเท้าสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.001 2) กลุ่มที่ได้รับความรู้เป็นรายบุคคลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้า สูงกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.01 และ p< 0.001 ตามลำดับ ส่วนคะแนนเฉลี่ยการประเมินสภาพเท้าไม่แตกต่างกัน 3) กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มหลังการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเท้า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพเท้า และการประเมินสภาพเท้าสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้เป็นรายบุคคล อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.001
The purpose of this quasi-experimental research was to compare the effects of learning program through a group process and individual education on knowledge foot care behaviors and foot conditions of soldiers with diabetes mellitus type 2. The subjects were soldiers with diabetes mellitus type 2 who attended at the military primary care unit 11 and 13 in Bangkok. Simple randomized sampling was used to divided into 2 groups. The military primary care unit 11 was receive randomized to the learning program through a group process and the military primary care unit 13 was receive randomized to individual education. Purposive sampling was used to select according to specified criteria thirty subjects in the unit 11 and unit 13. Instruments for collecting data composed 1) The demographic questionnaire 2) Foot care behaviors questionnaire 3) Foot care knowledge test and 4) Foot assessment forms. Instruments for experiment were the learning program through a group process that composed activity plan, working design and personal model. Individual education composed foot care handbook and counseling by phone. The researcher collected data by giving the subjects the questionnaire and the foot care knowledge test to answer. The researcher assessed foot by using foot assessment before and after experiment. SPSS version 11.5 was used to analyzed in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, and t- test. Simultaneously the content analysis was used to analyze the data of group process.The finding of the study revealed that :1.The soldiers with diabetes mellitus type 2 who received learning program through a group process had significantly higher score of foot care knowledge, foot care behaviors and foot assessment than before receiving learning program through a group process at level of p < 0.001.2. The soldiers with diabetes mellitus type 2 who received individual education had significantly higher score of foot care knowledge, foot care behaviors than before receiving individual knowledge at level of p < 0.01 and p < 0.001, respectively. But score of foot assessment not different.3. The soldiers with diabetes mellitus type 2 who received learning program through a group process had significantly higher score of foot care knowledge, foot care behaviors and foot assessment than the soldiers with diabetes mellitus type 2 who received individual education at the level of p < 0.001.