การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเลิกบุหรี่ของทหารกองประจําการตัวอย่างเป็นทหารกองประจําการ (ทหารใหม่) ประจํากองร้อยพลทหารเสนารักษ์และกองพันสารวัตรจํานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมจํานวน 8 ครั้ง ใช้เวลา 8 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับความรู้เรื่องทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเลิกสูบบุหรี่จากบอร์ดเพียงอย่างเดียวแล้วทําการเปรียบเทียบผลก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 7 วัน และ 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเลิกบุหรี่ และแบบสอบถามทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเลิกสูบบุหรี่ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ.92 และ .96 ตามลําดับ และแบบสอบถามได้รับการตรวจสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบ paired และ independentผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเลิกบุหรี่ก่อนการทดลองโดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความหวัง การมองโลกในแง่ดี และความหยุ่นตัว หลังการทดลอง 7 วัน และ 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p= .00) โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเลิกบุหรี่โดยรวมและรายด้าน หลังการทดลอง 7 วัน และหลังการทดลอง 1 เดือน สูงกว่าก่อนการทดลอง (p= .00) ดังนั้น จึงเสนอให้นําโปรแกรมทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่อการเลิกบุหรี่มาใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเลิกบุหรี่ในทหารกองประจําการหน่วยอื่น ๆ
This quasi-experimental research aimed to study the effect of the positive psychological capital program on smoking cessation in conscripts. Sixty participants who were new corpsmen and military police were selected based on inclusion criteria. The experiment group (n= 30) participated in the program eight times in eight weeks, while the control group (n= 30) received knowledge related to positive psychological capital for quitting smoking from notice boards. The comparison of the effect of the positive psychological capital program on smoking cessation between these groups was done before and after the experiment on the seventh day and atone month. Measurement tools in this research consisted of a program and a questionnaire of positive psychological capital on smoking cessation. These tools were tested for content validity through expert judgment with the value of .92 and .96, respectively. Moreover, the questionnaire was validated its reliability through Cronbach’s alpha Coefficient, which equals .88. The frequency, percentage, mean, standard deviation, paired t-test, and independent t-test were applied for statistical analysis. The results revealed that after seven days and one month, the participants in the experiment and control groups had a statistically significant difference of mean scores of psychological capital and its four dimensions, including self-efficacy, hope, optimism, and resiliency (p = .00), in which the mean score of positive psychological capital on smoking cessation and the mean score of self-efficacy, hope, optimism, and resiliency in the experiment group were increased after seven days and one month comparing to the baseline score (p= .00). It would suggest proposing the psychological capital program on smoking cessation to be used as a tool for smoking cessation in other military services.