การศึกษาวิจัย เรื่อง การดำเนินชีวิตของผู้ป่วยออทิสติกหลังการบำบัดฟื้นฟู ของสถาบันราชานุกูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยออทิสติกของสถาบันราชานุกูล เพื่อศึกษาการเสริมพลังและการสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ป่วยออทิสติกและครอบครัว เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยออทิสติกภายหลังการบำบัดฟื้นฟู ปัญหาอุปสรรค และผลกระทบที่เกี่ยวข้อง และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยออทิสติกภายหลังการบำบัดฟื้นฟู การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม กลุ่มเป้าหมายที่เลือกศึกษา คือ ผู้ป่วยออทิสติกที่ผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูทางการแพทย์แล้วอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมไปดำเนินชีวิตในโรงเรียน 3 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ดำเนินชีวิตในที่ทำงาน จำนวน 3 คน ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลในโรงเรียน ผู้ดูแลในที่ทำงาน ญาติ เพื่อนนักเรียน เพื่อนร่วมงาน หรือบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทีมสหวิชาชีพ รวมทั้งสิ้น 31 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟู การเสริมพลัง และการสนับสนุนทางสังคม มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น สามารถดำเนินชีวิตในโรงเรียน และในสถานประกอบการได้ แต่ยังคงมีปัญหาบางประการในการดำเนินชีวิต สภาพการณ์ทางจิตใจ อารมณ์ การใช้ชีวิตในสังคมยังคงเป็นปัญหาอยู่บ้าง แนวทางการดำเนินชีวิตหลังการบำบัดฟื้นฟู ผู้ปกครองควรลดความคาดหวังในตัวเด็กที่มีมากจนเกินไป ควรมีเวลา มีความอดทน เปิดใจยอมรับกับสิ่งที่เป็นอยู่ และรับผิดชอบในการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยร่วมกัน ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะให้กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการออกระเบียบว่าด้วยการสนับสนุนค่าการเดินทาง การชดเชยรายได้ กรมการจัดหางาน ควรให้สถานประกอบการเข้ามาเป็นภาคเครือข่ายในการฝึกอาชีพ และรับเด็กออทิสติกเข้าไปทำงาน กรมสุขภาพจิตควรขยายหน่วยงานเช่นเดียวกับสถาบันราชานุกูลไปในต่างจังหวัด เพื่อให้เด็กออทิสติกเข้าถึงบริการได้มากขึ้น
Objectives of a research on "The Way of Life of Patients with Autism after Rehabilitation Therapy by Rachanukul Institute" are to study Rachanukul Institue's guidelines for rahabititation therapy of patients with authism, to study empowerment of and social supports for patients with autism their family, to study way of life of patients with autism after rehabilitation therapy, problems and related impacts, and to study guidelines for promoting livelihoods of patients with autism after rehabilitation therapy. The study adopted qualitative research methodology by studying related literature and field visit to collect data. Target group selected for the study consisting of 3 patients with autism who had already gone through medical rehabilitation therapy and were in a process of preparation for spending their lives in school, 3 patients who were spending with autism who had already gone through medical rehabilitation therapy and were in a process of preparation for spending their lives in school, 3 patients who were spending their lives at workplace, including parents of the patients, teacher-caretakers in school, multidisciplinary team. The research has found that the samples who had gone through rehabilitation therapy, empowerment and social supports have more self-confident and are able to live their lives in school and workplace, but they still face some problems in their living. There are still some problems with their mental conditions, emotions and their living in society. This researcher therefore gives recommendations as follows: The Department of Empowerment of Persons with Disabilities issues regulations to support travel expenses and income compensation. Department of Employment should let workplaces become partners in a network for vocational training and recruiting children with autism to work with them. Similar to the Rachnukul Institute, Department of Mental Health should expand itself to the provinces, so that children with autism have more access to services.