การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกที่ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และแบบสอบถามความรู้ความรู้ในการป้องกันการหกล้ม มีค่าความเชื่อมั่นของ (KR-20) เท่ากับ 0.96ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความรู้ในการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ไม่แตกต่างกัน ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคลุมมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความรู้ในการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลต่อการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคพาร์กินสันสามารถสร้างสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและทำให้ผู้ดูแลมีความรู้ในการป้องกันการหกล้มได้
The research aimed to examine the effects of self-efficacy promotion program of caregivers for prevention fall of patient with Parkinson’s disease. Thirty outpatient samples were Parkinson’s disease caregivers who visited Parkinson clinic at the Chulalongkorn Center of Excellence for Parkinson’s Disease & Related Disorder of King Chulalongkorn Memorial Hospital. The samples were divided into 2 groups, which were fifteen persons on the experimental group and fifteen persons on the control group who received regular nursing care. Data were collected by using a self-efficacy of Parkinson’s disease caregiver’s questionnaire, which had Cronbach’s alpha at 0.98. Knowledge of caregivers in preventing falls was also applied as an instrument which had Kuder-Richardson (KR-20) at 0.96. The research results found that before experiment, the experimental group who attended the training program and the control group, who received regular nursing care had no different on self-efficacy and knowledge on preventing fall in Parkinson’s disease. After experiment, the experimental group and control group had perceived self-efficacy and knowledge of the caregivers to prevent fall of patient with Parkinson’s disease had significantly different. Suggestion: the effects of self-efficacy promotion program of caregivers for prevention fall of patient with Parkinson’s disease can improve self-efficacy and knowledge for the Parkinson’s patient caregivers.