การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมหิดล โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ เก็บข้อมูลในนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ ระดับชั้นปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 745 คน เครื่องมือที่ใช้ประเมินความเครียดดัดแปลงจากแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข (SPST-20) และแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 6 ได้การตอบรับทั้งสิ้น 379 คน (อัตราการตอบกลับ ร้อยละ 97.2) พบว่า นักศึกษามีคะแนนความเครียดรวมทุกข้อเฉลี่ย 48.8±12.7 คะแนน จากคะแนนเต็มรวม 90 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในระดับความเครียดสูง โดยนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 มีคะแนนความเครียดสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ระดับชั้นปีที่ 2, 4, 6, 1 และ 5 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษาคือ รายได้ต่อเดือนของครอบครัว สถานภาพครอบครัว การนอน ความสัมพันธ์กับเพื่อน และความสัมพันธ์กับอาจารย์ โดยเวลาที่ใช้ในการนอน และระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลทางลบต่อความเครียดของนักศึกษากลุ่มนี้
This study aimed to measure stress levels of pharmacy students and investigate factors which in-fluence pharmacy students’ stress at Mahidol University using the self-administered online questionnaire. The data were collected from 745 of first to sixth year students in 2018 academic year of the Faculty of Pharmacy, Mahidol University. The tool to measure stress was adopted from the stress assessment form of the Department of Mental Health, Ministry of Public Health (SPST-20) and the Rosenberg self-esteem test. Descriptive statistics and multiple regression analysis were used to analyze data. There were 379 responses of first to sixth year students (97.2% response rate of calculated sample size); and the mean total stress score was 48.82±12.76 of 90.00 which defined as high stress level. The highest stress score was observed in the 3rd year students following by 2nd, 4th, 6th, 1st and 5th year students, respectively. Factors influenced stress levels were family’s monthly income, parent’s marital status, sleep, relationship with friends and relationship with lecturer. The multiple regression revealed that sleeping time and level of self-esteem were significant predicting factors of the stress. Both factors negatively affected the stress of pharmacy students.