DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดตามวิถีของชุมชนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีศักดิ์ กสิผล
dc.contributor.author อังสนา เบญจมินทร์
dc.contributor.author สุจิตรา ชัยกิตติศิลป์
dc.contributor.author ชนิกา เจริญจิตต์กุล
dc.contributor.author Taweesak Kasiphol
dc.contributor.author Angsana Benjamon
dc.contributor.author Sujittra Chaikittisil
dc.contributor.author Chanika Jaroenjitkul
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing en
dc.date.accessioned 2024-10-18T00:37:40Z
dc.date.available 2024-10-18T00:37:40Z
dc.date.issued 2021
dc.identifier.citation วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 35, 1 (มกราคม-เมษายน 2564) : 52-62. en
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3046
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JPNMH/article/view/250795/170520 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการความเครียด วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 421 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด และการรับรู้อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการศึกษา: พบว่า 1) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง 2) การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด การรับรู้ความสามารถของตนเองเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด การรับรู้อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.36, 0.35, และ 0.33 ตาม ลำดับ ส่วนการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบโดยมีค่าสหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ -0.16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุป: ควรนำปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้อิทธิพลความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดมาเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการกับความเครียดของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ en
dc.description.abstract Objective: This study was a descriptive research to study health-promoting behaviors for stress management and to study factors related to health-promoting behaviors for stress management. Methods: The sample group comprised 421 persons lived in Bang Chalong sub-district community, Bang Phli district, Samut Prakran province. These samples derived from the multistage random sampling technique. Data were collected from June to December 2014 by using questionnaires created from Pender’s Health Promotion Model. Questionnaires were divided into six sections: personal data, health-promoting behaviors for stress management, perceived benefits of health-promoting behaviors for stress management, perceived barriers towards health-promoting behaviors for stress management, perceived self-efficacy of health-promoting behaviors for stress management, and perceived influences of interpersonal relation towards health-promoting behaviors for stress management. Therefore, data were analyzed by finding percentage, mean, standard deviation, and correlation analysis.Results:1)The sample group lived in Bang Chalong sub-district community, Bang Phli district, Samut Prakran province had a moderate level of health-promoting behaviors for stress management.2)Perceived benefits of health-promoting behaviors for stress management, perceived self-efficacy of health-promoting behaviors for stress management, perceived influences of interpersonal relation towards health-promoting behaviors for stress management related to health-promoting behaviors for stress management positively with the statistical significance at the .01 level. The correlation coefficients (r) were 0.36, 0.35 and 0.33 respectively. While perceived barriers towards promoting-health behaviors for stress management related to promoting-health behaviors for stress management negatively with the correlation coefficient (r) of -0.16 and the statistical significance at the .01 level. Conclusion: These findings suggest that factors of perceived benefits, perceived self-efficacy, and perceived influences of interpersonal relation towards health-promoting behaviors for stress management should be applied to be activities for developing the stress management skills among residents in Bang Chalong sub-district community, Bang Phli district, Samut Prakran province. en
dc.language.iso th en
dc.subject พฤติกรรมสุขภาพ en
dc.subject Health behavior en
dc.subject การส่งเสริมสุขภาพ en
dc.subject Health promotion en
dc.subject ความเครียด (จิตวิทยา) en
dc.subject Stress (Psychology) en
dc.subject การบริหารความเครียด en
dc.subject Stress management en
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียดตามวิถีของชุมชนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ en
dc.title.alternative Factors Related to Health-Promoting Behaviors for Stress Management of Bang Chalong Sub-District Community, Bang Phli District, Samut Prakran Province en
dc.type Article en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account