การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของผู้ประกอบการร้านค้าวัยทํางาน หมู่ที่ 7 ตําบลบางโฉลง อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการร้านค้าวัยทํางาน จํานวน 127 คน เริ่มดําเนินการวิจัยตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 รวมเป็นระยะเวลา 6 เดือน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาได้ 0.75-0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค้าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.10 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 38.70 ปี (SD=8.66) ร้อยละ 64.70 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 55.60 มีการศึกษาระดับตํ่ากว่าปริญญาตรีมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 19,283 บาท (SD=10,676.76) ร้อยละ 83.60 ไม่มีโรคประจําตัว จํานวนชั่วโมงการทํางานต่อสัปดาห์เฉลี่ย 8 ชั่วโมง (SD=11.95) ร้อยละ 58.70 มีการทํางาน ในเวลาปกติ (เช้าไป-เย็นกลับ) และระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 14.50 ปี (SD=9.39) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมส่งเสริม ได้แ่ รายได (r=0.362, p=0.006) การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (r=0.395, p<0.01) การรับรู้สมรรถนะของตนเอง (r=0.464, p<0.01) ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา
โปรแกรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้ประกอบการร้านค้าวัยทํางาน หมู่ที่ 7 ตําบลบางโฉลง อําเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการต่อไป
This study was a descriptive correlational research. The purposes were to assess health-promoting for prevention of non-communicable diseases, and to examine the predictors related to health-promoting behaviors for prevention of non-communicable diseases among working-age shop operator. The sample was 127 working-age shop operator from Moo 7 Bang-Chalong Sub District, Bangplee District, Samutprakarn Province. They were selected by using the Krejcie and Morgan table. Data had been collected over 6 months from January, 1st, 2020 to June, 30th, 2020. The research’s questionnaires were validated by the experts. The alpha coefficient was 0.75-0.86. The data was analyzed by mean, standard deviation, Pearson product moment correlation, and Multiple Regression Analysis. The study found that 65.10% of the samples were female, with a mean age of 38.70 years (SD = 8.66), 64.70% had marital status, and 55.60% had education at a lower bachelor's degree. Their average monthly income was 19,283 baht, (SD=10,676.76). 83.60% had no congenital disease. 58.70% worked at normal hours. The average number of hours worked per day, 8 hours (SD = 11.95) and mean operational duration of 14.50 years (SD = 9.39). Factors associated with promoting behavior were income (r = 0.362, p = 0.006), perceived benefits of health promotion behavior (r=0.395, p<0.01), self-efficacy (r=0.464, p<0.01). These findings will be useful for the development of health promotion programs to prevent non-communicable diseases among working-age entrepreneurs at Moo 7 Bang-Chalong Sub District, Bangplee District, Samutprakarn Province.