DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยประยุกต์ทฤษฎีการพยาบาลของคิง

Show simple item record

dc.contributor.advisor วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย
dc.contributor.advisor ทวีศักดิ์ กสิผล
dc.contributor.advisor Vanida Durongrittichai
dc.contributor.advisor Taweesak Kasiphol
dc.contributor.author เสาวนีย์ สิงหา
dc.contributor.author Saowanee Singha
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-05-16T05:51:28Z
dc.date.available 2022-05-16T05:51:28Z
dc.date.issued 2014
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/306
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557 th
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในระบบบุคคล ระบบระหว่างบุคคล และระบบสังคมที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข้าเสื่อมโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุข้อเข้าเสื่อมม จำนวน 126 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามตรวจสอบความแม่นตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุติม 5 ท่าน และหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้ 0.896 วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่บงเบนมาตรฐานและสถิติถดถอยโสจิสติค ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 60-69 มีดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานเป็นโรคอ้วน สถานภาพสมรสแล้ว การศึกษาระดับประถมศึกษา โดยมากเป็นพ่อบ้าน แม่บ้าน ไม่ได้ประกอบอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาท ประเมินอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมมีระดับความรุนแรงมาก ระยะเวลาการเจ็บป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม 0-5 ปี มีการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน มียอมรับการช่วยเหลือน้อย การรับรู้ของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีต่อความพึงพอใจในรูปร่างของตนเองมีความพึงพอใจปานกลาง และมีสุขภาพดีโดยรวมปานกลาง ผู้สูงอายุที่มีข้อเข่าเสื่อมมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมในระดับค่อนข้างมาก (ค่าเฉลี่ย 3.56) และค้นพบว่า ปัจจัยที่มีผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 คือ 1) ระดับการศึกษา 2) อาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม และ 3) รายได้ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรนำปัจจัยที่มีผลมาออกแบบระบบการให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม โดยเฉพาะปัจจัยเกี่ยวกับระดับการศึกษาอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมและรายได้ นอกจากนี้ควรทำงานเชิงรุกเป็นเครือข่ายร่วมกับพยาบาล สถานีอนามัย อาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชน และครอบครัว ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเพื่อเป็นการป้องกันความรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ th
dc.description.abstract This research aimed to study the factors in personal syste, interpersonal systems and social systems which the self-care behavior of the elderly with knee osteoarthritis by using survey research. The sample included 125 elederly with knee osteoarthritis. The instrument used was the questionnaire, examined the content validity by 5 expertise and reliability by using Cronbach's alpha coefficient of .896. The data were and analyzed by using percentages, mean, standard deviation and logistic regression. The results showed that the most of the sample was female, aged between 60-69 years, a body mass index (BMI) than the obese criteria. They were married, finished the primary education, was housewife/husband, didn't work or jobless, average income of less than or equal to 5,00 baths, evaluated their pain of osteoarthritis at high level, time of illness between 0-5 years, treated with medicine, had accept a helping at less level. Their perception in the shape of self-satisfaction and the health overall were in the moderate level. The elderly with knee osteoarthritis had a self-care behavior at rather high level (mean=3.56) and found that the factors which had positive relationship and has statistically significant at a level of 0.05 were 1) the education 2) the pain of osteoarthritis and 3) the income. Recommendations from this research are the community nurse practitioners (CNP) should employ the significant factors to specifically design health care service system for elderly with knee osteoarthritis, particularly, which emphasizing the improvement of this disease. Also, CNP should be creating proactive networking with hopitals, health centers, volunteers, community and families in caring for older people with knee problems to prevent the severity of knee osteoarthritis. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject ข้อเข่าเสื่อม th
dc.subject Osteoarthritis, Knee th
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject Older people -- Thailand -- Samutprakarn th
dc.subject การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง th
dc.subject Self-care, Health th
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยประยุกต์ทฤษฎีการพยาบาลของคิง th
dc.title.alternative Factors Relating to Self-Care Behavior of the Elderly with Knee Osteoarthritis in Praksa Municipality Area, Muang district, Samutprakarn Province. th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account