มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551 บัญญัติให้ผู้ที่มีความพิการสามารถเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้วย อย่างไรก็ตาม ระบบการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาปัจจุบัน ผู้เขียนพบว่ายังมีสภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและความเสมอภาคของคนพิการ เช่น ระบบการรับสมัครสอบ เนื้อหาและการใช้ถ้อยคำในข้อสอบ ระยะเวลาการทำข้อสอบ ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสำคัญต่อการกำหนดมาตรการ หรือแนวทางในการรับนักศึกษาพิการในระบบรับตรงอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องมีการกำหนดมาตรฐานการรับคนพิการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับสิทธิ และความเสมอภาคที่คนพิการพึงมีตามกฎหมายโดยคำนึงถึงความสามารถของคนพิการและความสามารถในการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาควบคู่กัน
Section 5 of Education for Disable Persons Act B.E. 2551 state that education for disable persons at birth or at first diagnosis shall be provided frees of charge throughout life. Including the higher education as well. However, the author found that the current admission to higher education faces for the disable persons faced many proffer problems affecting. For example, registration system for the examination, content and wording of the questions, time limitation to work on the test as well as most higher education institutions have not pay attention to the measures or guidelines on the direct admission for disable persons. Therefore, the authorities should set standard for the admission system in higher education for the disabled in accordance with the right and equality proclaimed by the law and also consider about the ability of disable persons coincided with the capacity of higher education institute.