ผู้ดูแลคนพิการถือเป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญอย่างมากในกรณีที่คนพิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในระดับน้อย หรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลตามมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ซึ่งได้กล่าวถึงสิทธิของผู้ดูแลคนพิการไว้ แต่จากการศึกษาวิจัย เรื่อง “การติตตามและประเมินผลแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2555-2559 (ระยะครึ่งแผนแรก)” พบว่า ร้อยละ 45.7 ของผู้ดูแลคนพิการมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับเหมือนเดิม รองลงมา คือ 23.5% มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการก็จะไม่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่เช่นกัน ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ดูแลคนพิการจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นปัจจัยพื้นฐานของการยกระดับการดำรงชีวิตของคนพิการได้ดีขึ้น แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลคนพิการเฉพาะหน้า คือ การแก้ไขปัญหาของผู้ดูแลคนพิการเป็นรายๆ โดยใช้กลไกรัฐในท้องถิ่น คือ อบต. และอาสาสมัครในท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว ควรส่งเสริมให้ผู้ดูแลคนพิการมีอาชีพที่มั่นคงและเหมาะสมกับผู้ดูแลคนพิการแต่ละประเภท หาตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งช่วยลดต้นทุนการผลิตซึ่งจะสามารถแข่งขันในตลาดได้ดียิ่งขึ้น
The Role of a caregivers of persons with disabilities are extremely important because that the persons with disabilities can only slightly help themselves or unable to help themselves at all. Article 4 of the Persons with Disabilities Empowerment Act B.E. 2550 (2007) guarantees the rights of caregivers for persons with disabilities. However, it appears that the role of caregivers are still overlooked as the study on Monitoring and Evaluation of the 4th National Plan on the Empowerment of Persons with Disabilities B.E. 2555-2559 shows that 45.7% of caregivers’ quality of life has not improved, while 23.5% of them have their quality of life gone lower than it used to be. This means that the development over the quality of lives of persons with disabilities also cannot be done with bully efficient. Therefore, the improvement over the quality of lives of the caregivers of persons with disabilities in molly needed as a basic factor of the improvement over the lives of disabled persons they look after. The short-term solution to improve the equalities of life of the caregivers is to use a local mechanism by asking the District Administration Organizations (DAOs) and local volunteers to help each caregiver individually. The long-term solution is to support these caregivers to help them have more stable jobs which must be suitable for each type of caregivers. There should expand a market opportunely to support the products made by these people make and a way to reduce the cost of production for their products to be more competitive.